การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนด้วยลีนเพื่อสร้างความมีประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร

หลักสูตร :

การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนด้วยลีนเพื่อสร้างความมีประสิทธิภาพสูงสุดในองค์กร

(Lean Logistics And Supply Chain Management To Maximize Efficiency In The Organization)

หลักการ/แนวความคิด :

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง จากปัจจัยและแรงกดดันต่างๆที่เกิดขึ้น ทุกองค์กรต่างแข่งขันกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น เร็วขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรได้ การบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนตลอดทั้งกระบวนการที่เชื่อมต่อและบูรณาการกิจกรรมเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรต่างๆ เห็นความจำเป็นและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและส่งมอบคุณค่าของกิจการให้กับลูกค้า

ซึ่งหัวใจสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนประสบความสำเร็จได้ ก็คือ ความสามารถในการรักษาหน้าที่ในการเป็นส่วนเชื่อมโยงหลักเพื่อการส่งมอบคุณค่าในสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่ดีนอกจากจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการบริหารสินค้า เพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับองค์กรอีกด้วย การวิเคราะห์และการวางแผนรับมือเพื่อให้กิจการสามารถจัดการกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง ควบคู่กับการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในและจากปัจจัยภายนอก จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าอย่างหนัก จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น หรืออุทกภัยในประเทศไทย และเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างโคโรน่าไวรัส (Covid-19) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงขององค์กรที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นเป้าหมายขององค์กรในปัจจุบัน จึงไม่ใช่แค่เรื่องของกำไร ต้นทุนและประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ความเสี่ยงและความยืดหยุ่นของกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชน  จะเป็นตัวแปรเดิมที่ถูกเพิ่มความสำคัญให้มากขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองกับความเสี่ยง และปรับตัวได้เร็วพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์วิกฤตได้ เหตุผลก็เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนสำหรับองค์กรในระยะยาว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่องค์กรจะต้องพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงพร้อมกับปัจจัยด้านต้นทุนและคุณภาพในการตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์ขององค์กร

อย่างไรก็ตามความสำเร็จที่เกิดขึ้นภายในองค์กรความสำคัญอยู่ที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมและตระหนักถึงเป้าหมายเดียวกัน การบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนก็เช่นกัน พนักงานทุกคนในทุกระดับมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเข้าใจในทิศทางขององค์กร เป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เห็นคุณค่าและความสำคัญของงาน พร้อมทั้งมีทักษะที่เหมาะสมเพื่อมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างความสำเร็จและความมีประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้

หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความตระหนักถึงเป้าหมายองค์กร คุณค่าความสำคัญของงาน และพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ให้เกิดความเข้าใจ ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานให้กับองค์กร ด้วยแนวคิดลีน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การบริการที่ยอดเยี่ยมและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ไปพร้อมกับการบริหารความเสี่ยงด้วยแนวทางที่มีประสิทธิภาพ มีความได้เปรียบในการแข่งขันและมีความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้

วัตถุประสงค์ต่อผู้เข้ารับการอบรม:

  1. เข้าใจแนวคิดและความสำคัญของการจัดการในการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสมัยใหม่
  2. ตระหนักถึงความสำคัญของประสิทธิภาพในการทำงาน,และเกิดแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้
  3. เข้าใจเทคนิคที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดการปัญหาและความท้าทายในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  4. พัฒนาทักษะของผู้เข้าอบรมให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนของงาน ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
เนื้อหาหลักสูตร
ความสำคัญของเป้าหมายองค์กรและความยั่งยืนหลักการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชนกับคุณค่าที่ลูกค้าต้องการทุกคนมีส่วนช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ?
อะไรคือตัวชี้วัดประสิทธิภาพและเป้าหมายที่สำคัญของงานด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน เทคนิคการบริหารจัดการสินค้าให้มีประสิทธิภาพด้วยลีน(Lean Techniques)
การบริหารสินค้าคงคลัง(Inventory Management)ให้มีประสิทธิภาพเทคนิคการสั่งซื้อสินค้ากับความไม่แน่นอนความเสี่ยงและความท้าทายสำหรับการจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจากปัจจัยภายในและภายนอก
การกำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม สำหรับการรับมือกับความเสี่ยงที่เป็นลบ และมองหาโอกาสสำหรับความเสี่ยงมีผลในทางบวก การแก้ปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า สรุปแนวทางการนำความรู้ไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร