เทคนิคการเพิ่มผลงานประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพภายในองค์กร:
Techniques for Daily Productivity Improvement in Your Organization
หลักการ/แนวความคิด
การเพิ่มผลผลิต (Productivity)ทำไมถึงมีความสำคัญกับองค์กร ?
ผลงาน หรือ ผลผลิต คือ ผลสะท้อนความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของแต่ละองค์กรว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าในแต่ละกระบวนการขององค์กร มีผลผลิตที่ดีก็จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและผลผลิตในภาพรวมขององค์กรดีไปด้วย แต่ถ้าผลผลิตแต่ละกระบวนการไม่ดี ก็ย่อมส่งผลต่อภาพรวมที่ไม่ดีตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าองค์กรจะมีผลผลิตที่ได้ก็เกิดจากการร่วมมือกันสร้างผลผลิตที่ดีในแต่ละกระบวนการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ดังนั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของทุกคนในองค์กร ในการเพิ่มผลงานและรักษาการเติบโตขององค์กรไว้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
แนวทางที่สำคัญในการเพิ่มผลการทำงานของแต่ละกระบวนการ มี 3 แนวทางด้วยกัน คือ
- การค้นหาโอกาสในการพัฒนาการทำงานตัวเองให้ดีขึ้น
- แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้หมดไป และ
- รักษามาตรฐานของกระบวนการที่ดีไว้ให้ได้
ซึ่งทั้ง 3 แนวทางนี้จะสำเร็จได้ องค์กรจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง คือ
สร้างการรับรู้ : สร้างความเข้าใจและสื่อสารกับทุกคนในองค์กรถึงแนวคิดการเพิ่มผลผลิต ตระหนักสาเหตุและความจำเป็นในการปรับปรุงและการมีส่วนร่วมจากทุกคน
ส่งเสริมทักษะสำคัญ : พัฒนาทักษะที่สำคัญในการวิเคราะห์การทำงานปัจจุบันและค้นหาโอกาสเพื่อการพัฒนาการทำงาน เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคการคิด ตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
สร้างให้เกิดความสำเร็จระยะสั้น : ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการปรับปรุงการทำงานให้เกิดความสำเร็จในเป้าหมายระยะสั้นโดยง่าย(short-term wins)
ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในระยะยาว : ขยายการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งซัพพลายเชน ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการทำงานร่วมกันให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน(long-term wins)
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ทั้ง 4 จะสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยแรงผลักดันที่สำคัญจากผู้บริหาร ด้วยการสื่อสารอย่างชัดเจนถึงแนวทางที่องค์กรต้องการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงาน มีโอกาสหรือช่องทางในการมีส่วนร่วมพัฒนาองค์กรให้สำเร็จได้
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้พนักงานเกิดความตระหนักถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานของตัวเอง เรียนรู้เทคนิคที่สำคัญในการวิเคราะห์การทำงาน ตั้งเป้าหมาย ค้นหาปัญหาและสาเหตุ เป็นเวทีให้แสดงความสามารถในการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทำงานให้ดีขึ้นได้ รวมถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและนำไปสู่การส่งมอบสินค้าและบริการที่ยอดเยี่ยมสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เข้าใจหลักการและความสำคัญของเพิ่มผลผลิตในงานประจำของตนเอง
- เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และเทคนิคที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวเองให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญต่อองค์กรได้
- สามารถนำเสนอและกำหนดแนวทางให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในองค์กรได้
รูปแบบการฝึกอบรม : two-way communication ( 40-50% workshop)
อบรม 1 วัน เวลา 9:00-16:00 (ไม่เกิน 30 คน)
เวลา | เนื้อหาหลักสูตร |
9:00- 10:30 | ความหมายและความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตและสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ปัญหาและความท้าทายของการทำงานในปัจจุบัน ความสำคัญของการปรับตัวเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน กิจกรรม 1: การค้นหาปัญหาในงานเพื่อการปรับปรุงการทำงาน |
10:30- 12:00 | ทุกคนมีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์กรได้อย่างไร ? เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เริ่มต้นจากเป้าหมายและทัศนคติ การวิเคราะห์การไหลของการทำงาน(Value Chain)และความสูญเปล่า(Wastes) กิจกรรม 2: การค้นหาสาเหตุและโอกาสในการพัฒนาผลการทำงานให้ดีขึ้น |
13:00- 14:30 | 5 หลักการ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Everyone, Every day, Everywhere) ความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)กับการเพิ่มผลผลิตในงาน กิจกรรม 3: การค้นหาแนวทางการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ |
14:30-16:00 | การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ(Decision Making)และเทคนิคสำคัญในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) ให้ผลงานดีขึ้น การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) และการทำงานเป็นทีมเพื่อการแก้ไขปัญหาและสร้างผลงานร่วมกัน (win-win-win) กิจกรรม 4: การนำเสนอแนวทางเพื่อการปรับปรุงงานอย่างมีประสิทธิภาพ บทสรุป เราจะเพิ่มผลผลิตอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) |
อ.ธวัชชัย บัววัฒน์ (Tawatchai Buawat)