ผู้นำต้องรู้อะไรควรทำเร่งด่วน

ความรู้สึกถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency)

เมื่อสถานการณ์ในองค์กรไม่ค่อยดี หรือกำลังประสบปัญหา สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้นำองค์กรต้องทำ คือ การแก้ไข และเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
และการเปลี่ยนแปลงนี้เองจำเป็นต้องอาศัย ทักษะผู้นำที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง คือ ความรู้สึกถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency) ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่จะขับเคลื่อนให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง

70%-90% ที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จเกิดจากตัวผู้นำ

เพราะถ้าผู้นำไม่มีเซ้นต์ ไม่รู้สึกว่าอะไรเร่งด่วน จะนำไปสู่ความเสียหายเพราะทั้งองค์กรจะไม่มีใครรับรู้ถึงเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ

John P. Kotter เขียนหนังสือ เรื่อง Leading Change ที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า
เหตุผลหลักที่ผู้นำไม่รู้สึกถึงความเร่งด่วนที่ต้องรีบทำอะไร ก็เพราะ

1. ผู้นำมีความชะล่าใจ และสุขสบายดีกับสิ่งที่เป็นอยู่
2. ทีมงานขาดความร่วมมือและความสนใจในการทำงาน
3. ผู้นำขาดวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ดี

เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในองค์กรจะนำไปสู่
• การมองไม่เห็นปัญหา
• การขาดความระมัดระวังในปัญหา
• มาตรฐานการทำงานต่ำ
• การขาดประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูล
• สื่อสารกันเฉพาะเรื่องดี มองข้ามเรื่องร้าย
• ชอบและอยู่เหนือปัญหา หนีปัญหา
• สุดท้ายจะนำไปสู่ความล้มเหลวในองค์กร

ความรู้สึกเร่งด่วนกับปัญหา จึงเป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำควรมี

ดังนั้นทางแก้ที่ดีที่สุด คือ ผู้นำต้องมีความรู้สึกเร่งด่วนกับปัญหา จึงจะนำไปสู่การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จและทันเวลา

เมื่อผู้นำเห็นปัญหาและความเร่งด่วน จะนำไปสู่ การกำหนดทีมงาน กำหนดวิสัยทัศน์ สื่อสาร และปฏิบัติ ซึ่งทุกอย่างต้องขับเคลื่อนจากผู้นำ

ในหนังสือ Leading Change ระบุ 8 ขั้นตอนในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 สร้างความรู้สึกถึงความเร่งด่วน
ขั้นตอนที่ 2 สร้างแนวทางการร่วมมือ
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 4 สื่อสารวิสัยทัศน์และการเปลี่ยนแปลงไปยังคนทำงาน
ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติงาน มอบหมายงาน และหน้าที่การทำงาน
ขั้นตอนที่ 6 สร้างผลสำเร็จในระยะสั้น
ขั้นตอนที่ 7 รวบรวมผลที่ได้รับและขยายความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 8 สร้างให้เป็นวัฒนธรรมในการเปลี่ยนแปลง

ซึ่งความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นได้จากผู้นำ และขยายต่อไปยังส่วนต่างๆในองค์กร
จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ผู้นำมีผลต่อความสำเร็จถึง 70-90%

ดังนั้นถ้าผู้นำดี องค์กรก็จะดี , ถ้าผู้นำไม่ดีก็ยากที่องค์กรจะดีขึ้นได้

leading change

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s