เตรียมรับมือการขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบ

ในขณะที่ตอนนี้ทุกคนกำลังกังวลกับการขาดแคลน สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ทำความสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ทั้งจากปัญหาเรื่องการผลิต และการจัดการ

แต่ในขณะเดียวกันนี้ผู้ผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังกังวลในการจัดการกับสินค้า และวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมตัวเองเช่น สินค้าอุปโภคบริโภค บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยาและเวชภัณฑ์
มีการประเมินว่า 1,000 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ต้องพึ่งพา โรงงาน คลังสินค้า และการผลิตอื่นๆ กว่า 12,000 โรงงาน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กักกันโรคของจีน เกาหลีใต้และอิตาลี ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะกระทบโซ่อุปทานทั้งโลก (Global Supply Chain)

ซึ่งเป็นไปได้ว่ากลางเดือนเมษายน-พฤษภาคม เราน่าจะได้เห็นผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้า ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ถ้ายังคงมีการปิดกั้นการผลิตและส่งสินค้า 

เราเคยเจอเหตุการณ์ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเหล่านี้แล้วเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ครั้งเกิดซึนามิที่ญี่ปุ่น เมื่อ มีนาคม ปี54 และช่วงปลายปีเดียวกัน กับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย โรงงานปิด การขนส่งถูกตัดขาด วัตถุดิบขาดแคลน สินค้าขาดตลาด  แต่ในครั้งนี้จะมีบางอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการไม่มีลูกค้า และขณะเดียวกันก็จะมีบางอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการไม่มีสินค้าและวัตถุดิบ

สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำและตัดสินใจ มี 5 ข้อที่สำคัญ คือ
1. ประเมินสถานการณ์และติดตามข้อมูล 24/7 (24 ช.ม. ทั้ง 7วัน) ในสินค้าและวัตถุดิบที่สำคัญ และจัดทีมงานที่จำเป็น ยิ่งต้องทำถ้าพึ่งพาวัตถุดิบจากการนำเข้า 

2. เตรียมหาซัพพลายเออร์ รายที่ 2-3 หากเกิดปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ (บางวัตถุดิบอาจทำได้ยากแต่จำเป็นต้องลดความเสี่ยง) มีวัตถุดิบอื่นๆ ในประเทศหรือไม่ 

3. พิจารณาซัพพลายเออร์ ของซัพพลายเออร์อีกต่อ เพื่อดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

4. ทำสัญญาล่วงหน้าและทำประกันในสิ่งที่ทำได้ บางกิจการอาจกระทบไม่มาก และบางกิจการอาจมีผลสำคัญ

5. พิจารณาระดับสต๊อกในปัจจุบัน ว่าจำเป็นและเพียงพอกับสถานการณ์อนาคตหรือไม่ และต้องตั้งตัวชี้วัดหรือระดับเฝ้าระวังใหม่ ในสินค้าและสต๊อกสินค้าที่มีความเสี่ยง

แน่นอนว่าการทำทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาจะทำให้ต้นทุนกิจการสูงขึ้น แต่ถ้ากิจการหรือโรงงานเราจำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบสำคัญจากภายนอก ในที่ที่มีความเสี่ยง เราควรต้องพิจารณาถึงแผนการทำงาน การบริหารซัพพลายเชน ที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอกับสถานการณ์ ใน 1-3 เดือนต่อจากนี้

เพราะนอกจากจะมีความไม่แน่นอนฝั่งวัตถุดิบ เช่น โรงงานในประเทศถูกปิดเพิ่มจากการแพร่ระบาด หรือมีเขตกักกันโรคเพิ่ม การกักตุนวัตถุดิบ , ในฝั่งของการซื้อก็จะเกิดการกักตุนเพื่อเก็งกำไร หรือกักตุนเพราะความกังวล ทำให้การคาดการณ์ความต้องการ(Demand Planning)ในช่วงดังกล่าวมีความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การบริหารจัดการที่ดีเพียงพอของแต่ละองค์กร จะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายจากวิกฤติที่กำลังจะกระทบต่อไปจากนี้ ซึ่งมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความสามารถของแต่ละองค์กร

อ้างอิงจาก : Coronavirus Is Proving We Need More Resilient Supply Chains
by Tom Linton and Bindiya Vakil   March 05, 2020 :  Harvard Business Review Home

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s