กฎ 20 ไมล์ เพื่อความสำเร็จ

กฎ 20 ไมล์ เพื่อความสำเร็จ คือ อะไร?
.
ระยะทาง 20 ไมล์ หรือ 32 กิโลเมตร มีผลอะไรกับความสำเร็จ
.
แล้วเราจะประยุกต์ใช้กฎนี้ได้อย่างไร?
.
ย้อนกลับไปในปีค.ศ.1911 (100 กว่าปี) เป็นจุดเริ่มต้นที่มีการพูดถึงกฎนี้ เมื่อสองนักสำรวจชาวนอร์เวย์และอังกฤษแข่งกันว่า ใครจะสามารถพิชิตขั้วโลกใต้ได้เป็นคนแรก
.
นักสำรวจชาวนอร์เวย์ชื่อโรอัลด์ อามุนด์เซน (Roald Amundsen)
.
ส่วนนักสำรวจชาวอังกฤษนั้นชื่อโรเบิร์ต ฟอลคอน สก๊อต (Robert Falcon Scott)

ทั้งสองคนมีอายุและประสบการณ์พอๆ กัน ออกเดินทางในเวลาไล่เลี่ยกัน ในสภาพอากาศแบบเดียวกัน
.
ในวันที่ 14 ธันวาคม 1911 คณะของอมุนด์เซน นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่พิชิตขั้วโลกใต้
.
ผ่านไปอีก 35 วัน กว่าคณะของนายสก๊อต ชาวอังกฤษ พึ่งจะเดินทางมาถึง และพบว่าตัวเองพ่ายแพ้
.
คณะของอมุนเซนด์นั้นเดินทางกลับไป และประกาศชัยชนะและความสำเร็จในวันที่ 25 มกราคม 1912
.
แต่คณะของสก๊อตไม่มีใครเหลือรอดกลับมาได้เลย ทุกคนเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับ อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
.
————————-
เป็นที่สงสัยว่าอะไรคือ ความแตกต่างของทั้งสองคณะทั้งๆ ที่มีความสามารถและประสบการณ์ใกล้เคียงกัน แต่คณะหนึ่งสำเร็จและรอดชีวิต แต่อีกคณะพ่ายแพ้และไม่รอดกลับมา
—————————
ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ คณะของผู้ชนะ จะพยายามเดินทางทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ให้ได้วันละประมาณ 10-20 ไมล์
.
แม้ว่าวันไหนอากาศดี จะสามารถเดินทางได้วันละ 30-40 ไมล์ แต่พวกเขาเลือกที่จะเดินทางตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ ไม่เกิน 20 ไมล์อยู่
.
แต่ในวันที่อากาศเลวร้ายมากๆ พวกเขาก็ยังออกเดินทาง ให้ได้อย่างน้อยสัก 10-15 ไมล์ก็ยังดี
—————————–
ในขณะที่คณะที่พ่ายแพ้ เลือกที่จะไม่ออกเดินทางในวันที่อากาศแย่ และใช้เวลาหลบอยู่ในเต๊นท์และเขียนบันทึกถึงสาเหตุที่ไม่ได้ออกเดินทางจากอากาศแย่ๆ
.
แต่ถ้าวันไหนท้องฟ้าเป็นใจคณะนี้ก็จะรีบออกเดินทางไปให้ไกลที่สุด เพื่อชดเชยวันที่อากาศแย่ ซึ่งบางวันอาจเดินทางไกลถึง 40- 50 ไมล์ แม้ว่าจะพบกับความเหนื่อยล้ามากก็ตาม
—————————–


และนี่คือที่มาของกฎของความสม่ำเสมอ..กฎ 20 ไมล์ ที่สร้างความแตกต่างระหว่างคนที่ทำสำเร็จ กับคนที่ล้มเหลว
.
กฏนี้ถูกน้ำมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งการเดินทางไกล การออกกำลังกาย วงการกีฬา ในการแบ่งช่วงการใช้กำลังให้สม่ำเสมอไม่หักโหมจนเกินไป
.
วงการธุรกิจที่ใช้ในการวางแผนธุรกิจ หรือเป้าหมายในการทำธุรกิจ ให้มีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอไม่หวือหวาจนเกินไป
.
วงการอุตสาหกรรมใช้วิธีการนี้ เพื่อปรับการวางแผนการผลิตเพื่อให้มีความสมูท ลื่นไหล ไม่ผลิตมากบ้าง น้อยบ้าง พยายามวางแผนให้มีความสม่ำเสมอในการใช้ทรัยพากร
.
หรือแม้แต่วงการที่ปรึกษาการพัฒนาตัวเอง หรือการวางแผนการลดน้ำหนัก ในการซอยเป้าหมายใหญ่ให้เล็กลงและพยายามทำให้สำเร็จอย่างสม่ำเสมอ แม้จะเล็กน้อยแต่ให้ทำอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการสร้างนิสัยความสำเร็จให้เกิดขึ้น


—————————
แต่สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ การนำกฎนี้ไปใช้มีความสำคัญมาก เพราะเนื่องจากการเริ่มต้นธุรกิจ ก็เหมือนการเดินทาง ที่ไม่ควรเร่งรีบ การเริ่มต้นที่เล็กเกินไป ดีกว่ามากกับการเริ่มต้นที่ใหญ่เกินไป
.
คนเริ่มทำธุรกิจ ต้องเริ่มจากเล็กและทำให้ดี ให้สามารถสร้างความได้เปรียบและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอในกลุ่มเล็กนั้นให้ได้เสียก่อน…จากนั้นจึงขยายความได้เปรียบที่มี เพิ่มเติม และก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จนถึงเป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้

นี่จึงเป็นหลักการของกฏ 20 ไมล์ ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
==========================
#20milesMarch
#YouCanBeTheNextSME #TheNextSME
#SMEStrategyForSuccess
#BusinessModel
#BusinessPlan
#Smeมีกลยุทธ์
#TawatchaiB
#กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ
#SME #TaBua #BusinessStrategy
#CompetitiveAdvantage💯

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s