กิจการคุณมีความสูญเปล่าหรือไม่


ในเวลาที่ต้องทบทวนเรื่องของต้นทุนและประสิทธิภาพของกิจการ
สิ่งที่องค์กรต้องพิจารณา คือ ขจัดความสูญเปล่าที่ไม่จำเป็นออกไปให้เหลือน้อยที่สุด
และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากที่สุด

ความสูญเปล่า ในกิจการ มี 2 อย่างคือ

  1. อะไรที่มีแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ คือ ความสูญเปล่า
    เช่น มีเครื่องจักรแต่ไม่ได้ทำงาน มีพนักงานแต่ว่างงาน มีรถแต่ไม่ได้วิ่ง
    มีโกดังแต่ไม่ได้เก็บสต๊อก มีสต๊อกแต่ไม่ได้ขาย ห้องประชุมที่ไม่ได้ใช้
    พื้นที่ที่ไม่ก่อประโยชน์ อะไหล่ที่ไม่จำเป็น มีสาขาแต่ไม่มีลูกค้าใช้บริการ
    ทรัพยากรที่มีแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ นั่นคือ ความสูญเปล่า
  2. เงินที่จ่ายแต่ไม่ได้สร้างคุณค่า(ที่ตรงกับความต้องการลูกค้า)
    เช่น ของเสียในกิจการ ค่าจ้างที่ไม่ได้สร้างคุณค่า ค่าโฆษณาแต่ไม่ได้ลูกค้า
    การสร้างทักษะที่ไม่จำเป็นต่องาน ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
    เงินที่เสียไปแต่ไม่ได้สร้างคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
    ซึ่งกิจการจำเป็นที่ต้องทบทวน คุณค่าที่ลูกค้าต้องการที่เปลี่ยนไป กับเงินที่เราจ่าย
    ความสูญเปล่าทั้ง 2 ประการ คือ ภาพใหญ่ขององค์กรที่ต้องพิจารณา

แต่หากมองในส่วนของวิศวกรรมการผลิต ความสูญเปล่าที่เราคุ้นเคยมี 7 ประการในการผลิต คือ
• การผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
• สินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
• การขนส่ง (Transportation Waste)
• การรอคอย (Waiting Waste)
• ของเสีย (Defects Waste)
• การเคลื่อนไหว (Motion Waste)
• กระบวนการมากเกินไป (Over processing Waste)

ซึ่งในความจริงแล้วในกิจการที่นอกเหนือจากการผลิตจะมีความสูญเปล่าที่มากกว่านั้น ซึ่งหากเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพกิจการ
ในหลักการคือ เราต้องค้นหาปัญหาและหาทางลดความสูญเปล่าออกไป
เหตุผลก็เพื่อ ให้เงินที่จ่ายและทรัพยากรที่ใช้เป็นไปเพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเท่าที่ต้องการ

อะไรที่ไม่ได้สร้างคุณค่า ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั่น คือ ความสูญเปล่า
กิจการจึงต้องมุ่งเน้นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

ให้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจการจึงต้องปรับเปลี่ยนคุณค่าให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการอยู่เสมอ
ต้องตอบโจทย์ลูกค้า ด้วยคุณค่าที่องค์กรมี

สิ่งที่เคยใช้ได้ในอดีต หลังจากนี้อาจใช้ไม่ได้แล้ว

ธวัชชัย บัววัฒน์
Tawatchai Buawat

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s