7 ขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้กลุ่มของคุณมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น

7 ขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้กลุ่มของคุณมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น

สิ่งสำคัญของการเริ่มต้นทำงานกลุ่มก็คือ การมีความรู้สึกถึงเป้าหมายร่วมกัน เช่น ตัดสินใจเพื่อองค์กร ตัดสินใจเพื่อชุมชน หรือ ตัดสินใจเพื่อหน่วยงาน มากกว่าการเข้ามาเพื่อเป้าหมายส่วนตัว เพราะถ้าทุกคนคิดถึงเป้าหมายส่วนตัวก่อน การทำงานกลุ่มอาจสร้างปัญหาที่ตกลงกันยาก แต่อย่างไรก็ตาม 7 ขั้นตอนนี้ ก็จะสามารถช่วยให้ความแตกต่างในความคิดสามารถสร้างการตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย :

  1. อย่าให้กลุ่มใหญ่เกินไป (3-7 คนกำลังดี) ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไป ก็จะมีการรวมกันเป็นกลุ่มย่อย เพื่อสนับสนุนความคิดของตัวเอง ดังนั้นบางคนต้องฟังเสียงกลุ่มย่อยแทนที่จะได้แสดงความคิดเห็นตัวเอง
  2. ในกลุ่มควรมีความแตกต่างกัน เช่น ต่างแผนก ต่างวัย ต่างความคิดเห็น เพราะถ้าทุกคนในกลุ่มมีความคิดเหมือนกัน ค่านิยมเดียวกัน ความแตกต่างทางความคิด หรือการคิดถึงสิ่งใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นได้ยาก
  3. ควรมีคนเห็นต่างในกลุ่มด้วย ในกลุ่มที่ร่วมกันตัดสินใจ ควรมีการมองหาคนที่คิดต่างเข้ามาร่วมในกลุ่มด้วย โดยเฉพาะคนที่มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับเป้าหมายเริ่มต้น เหตุผลก็เพื่อให้ทุกคนได้คิดถึงผลกระทบของระบบอย่างแท้จริง (คนคิดต่าง ควรมีสัดส่วน 5:2 เช่น คน 7 คนช่วยกัน คิดควรมีคนไม่เห็นด้วย 2 คน เพื่อให้ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
  4. ให้อิสระในการแสดงความคิดเห็น แม้ว่าคนในกลุ่มจะมีความคิดเห็นคล้ายกัน แต่ก็อาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ความคิดถูกครอบงำ ควรให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เช่น เขียนใส่กระดาษแสดงความคิดเห็นเป็นต้น
  5. เปิดให้พูดอย่างอิสระและปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น การพูดในที่ประชุมควรให้พูดได้อย่างเปิดเผยและเป็นอิสระทางความคิด ผู้นำประชุมต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยไม่คุกคาม อย่างไรก็ตาม ผู้แสดงความคิดเห็นก็ควรมีมารยาทในการพูด เช่น ไม่พูดพาดพิงบุคคล เน้นไปที่กระบวนการหรือผลลัพธ์เป็นหลัก
  6. อย่าให้น้ำหนักกับความคิดเห็นใครมากเกินไป บางครั้งการประชุมและตัดสินใจจะมีการฟังความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีอคติกับความคิดเห็นนั้น  ควรฟังทุกความคิดและให้น้ำหนักด้วยเหตุและผลแทน
  7. ทุกคนที่ตัดสินใจควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบ การตัดสินในกลุ่มทุกคนที่ร่วมกันตัดสินใจต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับผลของการตัดสินใจร่วมกัน ไม่ใช่ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้นำเพียงคนเดียว จะทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการตัดสินใจมากขึ้น

ขั้นตอนทั้ง 7 ที่กล่าวมาอาจไม่ได้รับประกันความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เชื่อได้เลยว่าการตัดสินใจในกลุ่มจะดีขึ้น เพราะมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านและเปิดเผย และทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ธวัชชัย บัววัฒน์

22/10/2563

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s