ความเสี่ยงของซัพพลายเชน(Supply Chain Risks) มีทั้งในแง่บวกและลบต่อกิจการ
แต่สิ่งที่เรากังวลในตอนนี้ออกไปในทางลบมากกว่า
จากความผันผวนและ ความไม่แน่นอนของผลกระทบจาก Covid-19
เป็นเหตุการณ์ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นได้
โดยเราสามารถวัดขนาดความเสี่ยงว่ามากหรือน้อย
จากคะแนนการให้คะแนนใน 3 ส่วน คือ
(a) โอกาสที่ความเสี่ยงนั้นจะเกิดขึ้น (Occurrence)
(b) โอกาสที่จะตรวจไม่พบความเสี่ยงดังกล่าว (Detection)
(c) ความรุนแรงหรือความเสียหายหากความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น(Severity)
และกำหนดเกณฑ์แล้วให้คะแนน อาจะเป็น 1-5 หรือ 1-10
ซึ่งผลคูณของคะแนนทั้งสามนี้คือ Risk Priority Number (RPN)
RPN = Occurrence x Detection x Severity
ยิ่ง RPN สูงเท่าไหร่ความเสี่ยงก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้นและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับกำไร หรือความมั่นคงด้านโลจิสติกส์และซัพพลาเชนก็จะสูงขึ้น
นี่คือ ขั้นต่ำที่กิจการต้องทำตอนนี้ คือ พิจารณาความเสี่ยงปัจจุบัน ตอนนี้
และหาทางที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว ให้ได้ในอนาคต
เช่น ปัจจุบัน พบว่า ค่า RPN ของกิจการ อยู่ที่ 7x8x5 = 280
กิจการควรมีเป้าหมายที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าวให้เหลือน้อยกว่า 50%
หรือให้เหลือต่ำกว่า 140
ในระยะเวลา 3- 6 เดือนข้างหน้าเป็นต้น
นอกจากนี้แล้วกิจการควร นำเหตุการณ์ความเสี่ยงต่างๆ มาเขียนรวมกันลงบนกราฟ
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดมากขึ้นว่า สิ่งใดเป็นความเสี่ยงที่ต้องกังวล
ตัวอย่างความเสี่ยงด้านซัพพลายเชนที่แต่ละคนพูดถึงในตอนนี้:
- สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ไม่แน่นอน
- ความยืดหยุ่นหรือความสามารถในการปรับตัว
- สินค้าขาดสต๊อก
- ซัพพลายเออร์เลิกกิจการ
- สินค้าไม่มีคุณภาพ
- ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
- การหยุดชะงักของผู้บริโภค
- ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
- การก่อการร้าย
- การหยุดชะงักการขนส่ง
ในทางปฏิบัติ ความเสี่ยงเป็นเรื่องเฉพาะกิจการที่ต้องพิจารณาในซัพพลายเชนของตัวเอง และหาทางลด หรือ กระจายความเสี่ยง รวมไปถึงการประกันความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่มีผลรุนแรงต่อความมั่นคงของกิจการ
และกิจการต้องพิจารณา สร้างระบบที่สามารถรับมือกับความไม่แน่นอน และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องพบเจอกับความเสี่ยงในอนาคตอีกด้วย
อนาคตข้างหน้าอันใกล้ ความเสี่ยงมีสูง ความสามารถในการระวังภัย รวมไปถึงความสามารถในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ยืดหยุ่นในการปรับตัว เพื่อความอยู่รอดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ธวัชชัย บัววัฒน์
31/10/2563