20 ข้อ สำหรับคนออกจากงานและอยากเปิดร้านตอนนี้

ถึงคนที่ออกจากงานและอยากเปิดร้านในตอนนี้มีคนตกงาน และออกจากงานโดยได้รับเงินชดเชย หรือเงินก้อนแล้วคิดอยากมีกิจการของตัวเอง อยากให้พิจารณาให้ดี 20 ข้อ เพื่อให้เงินก้อนนั้นงอกเงยอย่างที่ต้องการ ไม่หมดไปก่อน


1.เงินก้อนที่ได้มานั้นมีเพียงพอสำหรับใช้ปกติกี่เดือน เช่น ได้เงินชดเชยมา 5 แสน มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2 หมื่น แสดงว่าใช้ได้ 25 เดือน (มีเวลาให้เราคิดและใช้ชีวิตต่อไป) อย่าใช้เกินตัว


2.กันเงินก้อนนั้นไว้ 6-10 เดือน เช่น กันไว้ 6 เดือน คือ 1.2 แสนบาทเก็บไว้ใช้ เหลือเงินไว้ทำทุน 3.8 แสนบาท ถือว่าไม่มาก(เราต้องทำให้เงินนี้เลี้ยงเราได้ภายใน 6 เดือน)


3.เหลือเงินน้อย ให้ลงทุนแต่น้อย อย่าลงทุนมาก อย่าพึ่งกู้หรือยืมเงิน ให้พึ่งตัวเองให้มาก อย่าหวังพึ่งความช่วยเหลือจากคนอื่นมาก เช่น วางแผนเปิดร้านแล้วเดี๋ยวให้คนนั้นคนนี้มาช่วย


4.การเลือกทำเลให้มาดูหลายๆ ครั้ง หลายๆ ช่วงเวลา หลายๆ วัน ไปนั่งนานๆ ถ้าจะเปิดร้านในตลาดให้ไปอยู่ตั้งแต่ตลาดเปิดจนตลาดปิด ทุกวัน เปลี่ยนที่ดูไปเรื่อยๆ ใจเย็นๆ เห็นแล้วอย่าอยากได้เกินเหตุผล


5.ถ้ามีตลาดเปิดใหม่หรือทำเลใหม่ ให้คิดว่ามีความเสี่ยงที่ลูกค้าจะไม่มาเดินอย่างที่คิดต้องพิจารณาให้ดี ตลาดเก่าดูง่ายกว่าเพราะมีคนเดินอยู่แล้ว ลูกค้าติดแล้ว


6.อย่าขายสินค้าแข่งกับคนอื่นให้ดูสิ่งที่ยังขาดในบริเวณนั้น สินค้าเหมือนกันอาจขายคนละที่ คนละเวลา คนละรูปแบบ แต่ต้องแตกต่าง


7.ที่ไหนมีคนที่นั่นมีลูกค้า เช่น เห็นคนที่คลินิกเยอะ รอนาน ให้หาของไปขาย, ร้านขายอาหารคิวยาวให้ขายขนมหรือเครื่องดื่ม หาเวลาดูสถานที่ และไอเดียร้านค้า ตลอด 24 ชม. เช่น เราอาจเห็นโอกาสในตลาดสดตอนเช้ามืด ตอนดึก หรือเวลาอื่นๆ ในเมืองได้ อย่าติดอยู่กับการทำงานเดิม ที่เริ่มเช้า เลิกเย็น


8.ระวังการเลือกทำเลผิด เพราะถ้าผิดแล้วบางครั้ง เช่าไปแล้ว ลงทุนสร้างไปแล้วกลับตัวยาก ดังนั้นดูให้นาน หรือ ทดลองขายก่อน


9.เช่าร้านที่ลงทุนไม่มาก เช่น มีค่ามัดจำน้อย ไม่ต้องตกแต่งมาก และทำเลใช้ได้ เงินน้อยให้ทำจากเล็กไปใหญ่


10.ถ้าจะต้องสร้างลงทุน ให้ใช้ เหล็ก ไม้ หรือสิ่งที่ถอดย้ายได้เป็นหลัก อย่าใช้ปูน เพราะย้ายลำบากใช้ต่อไม่ได้


11.ถ้าจะซื้อสินค้ามาขาย อย่าซื้อมากเพราะเห็นว่าราคาถูก ให้ซื้อเท่าที่จำเป็น อย่าให้เงินไปจมอยู่กับสินค้าและวัตถุดิบ พอขายดีมาก ซื้อเยอะต้นทุนก็จะถูกลงเอง แต่ถ้าซื้อมากแล้วขายไม่ได้เงินจะหมด


12.ทำแผนการเงินคร่าวๆ เช่น ต้องขายเท่าไหร่จะได้ค่าเช่า ต้องขายเท่าไหร่ถึงจะได้ต้นทุน แล้วมีความเป็นไปได้หรือไม่ เช่น ต้องขายข้าวได้ 100 จาน ทำทันหรือเปล่า มากี่คนโต๊ะนั่งพอมั้ย หรือซื้อกลับบ้านคนเดินในตลาดมีมากแค่ไหน ลองคำนวณคร่าวก่อนลงทุนจริง จะได้รู้ความเป็นไปได้


13.ต้องดูความได้เปรียบของสินค้า สถานที่ และคู่แข่งให้ดี ร้านค้าเปิดใหม่หลายราย ไม่ดูคู่แข่ง ทำให้ขายไม่ได้ ถ้ามีคู่แข่งต้องระวังให้ดี คิดให้ได้ว่าทำไมลูกค้าต้องมาซื้อเรา ถ้าคิดไม่ได้ถือว่าเสี่ยง คู่แข่งไม่ได้อยู่แค่รอบร้านเรา แต่ต้องดูด้วยว่าเราเหมือนหรือต่างอย่างไรกับที่ลูกค้าซื้อออนไลน์


14.เช่น จะขายก๋วยเตี๋ยวข้างทาง ตอนกลางคืนลูกค้าเห็นหรือเปล่า จดรถทันมั้ย และดูด้วยว่ามีรถวิ่งผ่านมากหรือน้อย เร็วหรือช้า ถ้าไม่กินเรามีร้านก่อนหน้ากี่ร้านที่คล้ายเรา และถ้าเลยเราไปมีกี่ร้านให้เลือก ถ้าไม่มีเลยถือว่าดี ถ้ามีให้เลือกก็ต้องแตกต่างเพราะเราเป็นคนใหม่


15.ต้องคิด 3 อย่าง คือ ตัวเราต้องมีความได้เปรียบ ต้องคิดในมุมลูกค้าว่าต้องการอะไรทำไมต้องซื้อเรา และความได้เปรียบของคู่แข่งที่เปิดมาก่อนมีช่องว่างอะไร


16.อย่าคิดว่ามือใหม่เปิดร้านช่วงแรกจะขายดี เราจึงจำเป็นต้องมีเงินเผื่อไว้อย่างน้อย 6 เดือน เผื่อฉุกเฉิน


17.เมื่อเปิดไปแล้วไม่ว่าร้านอะไร ให้ดูว่ามีลูกค้าใหม่เข้ามาหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าสินค้าและตำแหน่งร้าน หรือ ป้าย การโฆษณาเรามีปัญหาทำให้ลูกค้าไม่เข้าร้าน ไม่รู้จัก ไม่เห็นร้าน หรือไม่กล้าเข้า

18.ถ้าเปิดไปแล้วสักระยะมีแต่ลูกค้าใหม่ ไม่มีลูกค้าเดิมมาซ้ำ แสดงว่าการตลาดดีมีลูกค้าเข้า แต่สินค้าหรือบริการน่าจะมีปัญหาทำให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำ เช่น ราคา การบริการ ความสะดวก หรือมาแล้วปิดบ้าง เปิดบ้าง หมดบ้าง


19. ทำร้าน ป้าย ชื่อ หรือ แต่งร้าน ให้สอดคล้องกับลูกค้า ให้เหมือนลูกค้าสไตล์เดียวกับลูกค้า อยากได้ลูกค้าแบบไหนก็ทำร้านแบบนั้น ทำตัวแบบนั้น


20. เปิดร้านใหม่ ไม่ง่าย ต้องอดทนมากกว่าปกติ จนกว่าจะอยู่ตัว ต้องปรับปรุง สังเกตและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ถ้าคิดเริ่มต้นได้ 20 ข้อนี้ก็พอจะทำให้เราได้เห็นภาพของกิจการตัวเองได้ชัดขึ้น และมีความเสี่ยงน้อยลง

ธวัชชัย บัววัฒน์
10/11/2563

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s