รอยต่อระหว่างหน่วยงาน อุปสรรคของความสัมพันธ์ในซัพพลายเชน

รอยต่อระหว่างหน่วยงาน อุปสรรคของความสัมพันธ์ในซัพพลายเชน

เป้าหมายการจัดการซัพพลายเชนกิจการ ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ
การไหลอย่างราบรื่นของสินค้าและวัตถุดิบจากต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค

ซึ่งเป้าหมายของการไหลก็คือ
ต้องมีระยะเวลาที่รวดเร็ว ยืดหยุ่นต่อปัญหาและอุปสรรค
โดยต้องมีต้นทุนต่ำและประสิทธิภาพสูง
ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

หลายองค์กรทราบถึงเป้าหมายนี้ดี
และเข้าใจอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การไหลติดขัด
ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแผนก
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างองค์ร
สุดท้ายก็ส่งต่อไป จนถึงลูกค้า

การเชื่อมต่อแบบหูกระต่าย (ฺBow Tie)

ปัญหานี้เป็นความยากตั้งแต่โครงสร้างองค์กร
ที่ยังคงมีขอบเขตระหว่างแผนก
หรือเรียกว่า
ความสัมพันธ์แบบโบว์หูกระต่าย (Bow tie)
ที่พึ่งพาความสัมพันธ์เพียงคนไม่กี่คนระหว่างกัน
ถ้าความสัมพันธ์ดีก็ดี แต่ถ้าไม่ชอบกัน ก็เกิดปัญหาได้ง่าย
หรือถ้ามีใครย้ายออกไป ก็ต้องเริ่มสานสัมพันธ์กันใหม่
ส่งผลต่อความเสี่ยงในระยะยาว

ดังนั้นองค์กรที่ต้องการมุ่งเน้นความสัมพันธ์ที่ดี
และให้มีความยั่งยืนตลอดทั้งซัพพลายเชน
ควรต้องเริ่มจากพื้นฐาน คือ ความสัมพันธ์ที่มั่นคง
หรือที่เรียกว่า ความสัมพันธ์แบบเพชร(Diamond)

การเชื่อมต่อแบบเพชร (Diamond)

คือเน้นการมีส่วนร่วมและทำกิจกรรมร่วมกัน
ระหว่างแผนก ระหว่างองค์กร ที่เป็นรอยต่อสำคัญ
เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นไปอย่างมั่นคง
และไม่ฝากความเสี่ยงไว้กับคนใดคนหนึ่ง

ความสัมพันธ์ที่ดีจะส่งผลให้การทำงานในซัพพลายเชน
ไหลลื่น และ มั่นคง แต่นี่เป็นเพียงพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมร่วมกัน
องค์กรยังต้องส่งเสริม และสร้างความสัมพันธ์ให้แข็งแกร่งระยะยาว
เช่น การแก้ไขปัญหาร่วมกัน การมีเป้าหมายเดียวกัน
และการแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกัน เป็นต้น

Cr. Guide to Supply Chain Managment Book

Relationship #DigitalSupplychain
Collaboration #Beginrabbit
หลักสูตรฝึกอบรม #โลจิสติกส์ #ซัพพลายเชน
Tawatchai Buawat

ธวัชชัย บัววัฒน์ 10/2/64

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s