ความยืดหยุ่นและความเร็ว สิ่งสำคัญของซัพพลายเชนในโลกหลังโควิท
มีการศึกษาที่จัดทำโดย Gartner Consulting สำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนกว่า 1,300 คนพบว่า 87% มีแผนที่จะลงทุนในความยืดหยุ่น(Resilience)ของซัพพลายเชนกิจการใน 2 ปี และมีถึง 98% ที่ต้องการลงทุนเรื่องของความคล่องตัว(Agility)ของซัพพลายเชนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
กิจการจำเป็นต้องปรับสมดุลใหม่ในการจัดการระหว่างความยืดหยุ่น, ประสิทธิภาพด้านต้นทุนและความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
ผู้บริหารซัพพลายเชนของแต่องค์กรตระหนักดีถึงความจำเป็นในการทำให้เครือข่ายมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกัน 60% ยอมรับว่าซัพพลายเชนของตนไม่ได้ออกแบบมาเพื่อความยืดหยุ่น เพราะเน้นเรื่องของประสิทธิภาพและต้นทุนเป็นสำคัญ หลังจากนี้ความท้าทายคือการสร้างรูปแบบการดำเนินงานสำหรับซัพพลายเชนที่ผสมผสานทั้งความยืดหยุ่นและความคล่องตัวเข้าไว้ด้วยกัน ในขณะที่ยังสามารถควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพและยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
ความยืดหยุ่นที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในซัพพลายเช คือ ความสามารถในการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นขององค์กรกลยุทธ์ซัพพลายเชน ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และ ความคล่องตัวเป็นความสามารถขององค์กรในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด โดยที่ไม่ได้กระทบกับต้นทุนหรือคุณภาพของกิจการ
โดยในหลายองค์กรเริ่มที่จะพิจารณาเรื่องของการกระจายความเสี่ยงด้านอุปทาน และการออกแบบซัพพลายเชนใหม่โดยมุ่งเน้นกาสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะกับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์รายสำคัญ
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า:
ต้นทุนและประสิทธิภาพจะยังคงเป็นข้อพิจารณาหลักสำหรับซัพพลายเชน ในการประเมินเพื่อออกแบบเครือข่ายซัพพลายเชนใหม่
วิธีการแบบลีน (Lean) และ ระบบทันเวลา(just-in-time) และต้นทุนยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลยุทธ์ในอนาคต
มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเครือข่ายซัพพลายเชนจากระดับโลก(Global) ไปสู่ในประเทศ (Local) หรือภูมิภาคใกล้เคียงมากขึ้น
ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น