มดอาจมีสมองที่ใหญ่ที่สุดในหมู่แมลง
และจะฉลาดมากเมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง
มดเริ่มเดินออกจากรัง โดยการเดินสุ่ม
เพื่อหวังว่าจะเจอของกิน
มดจะเอาอาหารกลับมาที่รัง
กินหมดและนอน ก่อนออกไปหาอาหารใหม่
.
ที่น่าอัศจรรย์คือ เมื่อมดแต่ละตัวพบแหล่งอาหาร
มดจะนำอาหารกลับไปที่รังโดยทิ้งฟีโรโมนไว้ข้างหลัง เพื่อให้จำเส้นทางได้
จากนั้นบรรดามดทั้งหลาย จะพยายามเดินตามเส้นทางกลับไปยังแหล่งอาหาร
แต่ฟีโรโมนระเหยอย่างรวดเร็ว
พวกมดเลยดูสับสนในขณะที่พวกมันพยายามกลับบ้าน
เมื่อเวลาผ่านไปมดจะจัดระเบียบการค้นหาใหม่
โดยได้เส้นทางที่ดีที่สุดและสั้นที่สุดระหว่างอาหารและรัง
เมื่อมดเดินตามเส้นทางที่เหมาะสม
พวกมันก็ปล่อยฟีโรโมนมากขึ้นและดึงดูดมดมากขึ้นเรื่อย ๆ
ความสับสนในเส้นทางจะหายไป
ถูกแทนที่ด้วยเส้นทางที่เป็นระเบียบและเหมาะสมที่สุด
และมดจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น
มดที่มีอายุมากจะมีประสบการณ์สูง
ทำให้พวกมันหาอาหารได้รวดเร็วขึ้นและ ง่ายขึ้น
เพื่อค้นหาเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อไปยังแหล่งอาหาร
นี่คือความฉลาดของฝูงมดในการค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด
เพื่อเดินทางระหว่างรังไปยังแหล่งอาหาร
ถึงตอนนี้..ถ้าเราลองเปลี่ยนจากรัง เป็น คลังสินค้า
และเปลี่ยนอาหาร เป็น ลูกค้า
แล้วหาเส้นทางเหมาะสมที่สุดในการขนส่ง หรือ
vehicle routing problem (VRP)
ด้วยวิธีการหาเส้นทางการเดินแบบ มดมด
จากคลังสินค้าไปส่งสินค้ายังลูกค้า
ก็น่าจะได้คำตอบที่เหมาะสมเช่นกัน

ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่า
Ant Colony Optimization (ACO)
พัฒนาโดย Marco Dorigo ในปี 1992 (Dorigo, 1992)
เป็นการค้นหาคำตอบโดยเลียนแบบพฤติกรรมการหาอาหารของมด
สามารถใช้เพื่อค้นหาคำตอบของปัญหา
สามารถใช้เพื่อหาเส้นทางการส่งสินค้าได้
จากการศึกษาพฤติกรรมตามธรรมชาติของมดตัวเล็กๆ
เรียกได้ว่าธรรมชาติมีคำตอบซ่อนให้เราอยู่เสมอ
ขนาดมดตัวเล็กนิดเดียว ยังสอนเราหาคำตอบของปัญหาใหญ่ได้
สามารถช่วยให้มนุษย์คิดได้ว่าจะส่งสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด
ธวัชชัย บัววัฒน์
16/2/64