การสร้างสมดุลในการเดินทางสู่เป้าหมาย

Life is like riding a bicycle. To keep your balance you must keep moving. – Albert Einstein

ชีวิตก็เหมือนกับการขี่จักรยาน การที่จะรักษาความสมดุลให้ได้นั้น เราต้องขี่ไปเรื่อยๆ – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์


คือ ข้อความสำคัญของจดหมาย
ที่ไอน์สไตน์เขียนถึง Eduard ลูกชายคนที่สองของเขา
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
ขณะนั้น Eduard กำลังศึกษาด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยซูริก
และกำลังมีปัญหาระหว่างเรื่องความรัก การเรียนและการงาน

แต่ที่น่าเศร้า ในปีพ. ศ. 2473 เอ็ดเวิร์ดมีความไม่สมดุลมากขึ้น
ไม่นานหลังจากที่เขาได้รับจดหมาย “จักรยาน” ของพ่อ
เขาก็ละทิ้งการเรียนและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท
ในปีพ. ศ. 2475 Eduard มุ่งมั่นที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช
ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตที่นั่นในปี 2508 ตอนอายุ 55 ปี

ความสมดุลทำให้จักรยานไปต่อได้
ตราบเท่าที่ชีวิตยังต้องปั่นไปสู่เป้าหมาย

ดังนั้นการรู้ถึงการรักษาสมดุลของชีวิต ไม่สำคัญเท่ากับความเข้าใจ
และการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง

ความยากของการสร้างสมดุลให้กับชีวิตก็คือ

  1. สมดุลระหว่างอะไร ? เช่น ระหว่างความรัก และครอบครัว หรือ ระหว่างงาน กับ ชีวิตส่วนตัว หรือระหว่างลูกค้ากับประสิทธิภาพการทำงาน ระหว่างสุขภาพและความก้าวหน้า ดังนั้นการที่ไม่รู้ว่าสมดุลระหว่างอะไรกับ อะไร จึงเป็นความยากอย่างที่ 1 , ซึ่งวิธีการหนึ่งที่จะรู้ว่าเราต้องเลือกความสมดุลระหว่างอะไร ก็คือ เป้าหมาย ถ้าชีวิตเรามีเป้าหมายอะไร เราก็ต้องสมดุลระหว่างสิ่งนั้น หรือ เป้าหมายในการทำงานของเราคืออะไร เราก็ต้องสมดุลระหว่างสิ่งนั้น

    หลายครั้งเราเข้าใจว่าคนเรามีเป้าหมายเดียว แต่ความจริงแล้วเรามีเป้าหมายในชีวิตมากกว่าหนึ่ง ซึ่งการสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น สิ่งแรกคือ กำหนดเป้าหมายที่ต้องการสร้างความสมดุล
  2. ระดับความสมดุลของแต่ละคนไม่เท่ากัน นอกจากจะไม่เหมือนกันแล้ว ระดับความสมดุลของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นความสมดุลของแต่ละคนจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว เราสามารถลอกแนวคิดได้ว่าทำไมคนอื่นถึงคิดแบบนั้น แต่สิ่งสำคัญคือ เราต้องตัดสินใจในความสมดุลของตัวเอง
  3. ความสมดุลไม่ใช่สิ่งคงที่ ในแต่ละช่วงเวลา นอกจากความสมดุลของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันแล้ว ตัวเราเองก็ยังมีระดับของความสมดุลในแต่ละช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน เช่น วัยเด็กเลือกอย่างหนึ่ง ตอนโตเลือกอีกอย่าง ตอนโสดเลือกอีกอย่าง พอมีครอบครัวก็เลือกอีกอย่าง ดังนั้น เราควรเข้าใจว่าระดับความสมดุลควรปรับให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราจึงไม่ควรยึดติดกับสิ่งที่เป็นอดีต แต่ควรมองหาอนาคตที่ต้องการอย่างแท้จริง

ดังนั้น เราควร หาเป้าหมาย สร้างสมดุล รักษาสมดุล ในการเคลื่อนที่สู่เป้าหมาย
ทางสายกลางไม่ได้หมายถึงอยู่ตรงกลาง แต่หมายถึง ความสมดุลระหว่างสิ่งที่เป็นเป้าหมายในชีวิตเรา
ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนจนเกินไป
ถ้าตึงแล้วเหนื่อยก็ผ่อน ถ้าหย่อนแล้วเสียหาย ก็ลุกขึ้นตามเป้าหมายที่ต้องการ

คำตอบของชีวิตจะรู้ก็ต่อเมื่อถึงตอนจบ

ธวัชชัย บัววัฒน์
3/11/64

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s