หลายคนอาจตำหนิด้วยความเข้าใจผิดว่า
“เพราะความโง่เลยทำให้จน”
แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น
มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science ที่นำเสนอมุมมองที่ต่างออกไป
นักวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเป็นคนยากจนอาจทำให้คน ๆ หนึ่ง
ไม่ได้มีสมาธิและเวลามากพอในการพัฒนาตัวเอง
เนื่องจากว่าพวกเขาต้องพยายามและใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง
ในการรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
ด้วยเหตุนี้ทำให้คนจน มีความกังวลและมีเวลาให้กับ การคิด ลดลง
และไม่มีเวลามากพอที่จะจัดการเวลาและพัฒนาตัวเอง
ในการทดลองยังพบว่าความกังวลทางการเงินแบบเร่งด่วน
มีผลกระทบทันทีต่อความสามารถของบุคคลที่มีรายได้น้อย
โดยเฉลี่ยแล้วคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องเงิน
จะส่งผลให้ไอคิวที่ลดลง 13 จุด ซึ่งเท่ากับการนอนไม่หลับตลอดทั้งคืน
แต่เมื่อความกังวลเหล่านั้นหายไประดับความสามารถไม่ได้แตกต่างจากคนฐานะดี
การศึกษาของมหาวิทยาลัย Princeton , Warwick และ Harvard
ยังช่วยลบมุมมองที่ว่า “ความยากจนเกิดจากความล้มเหลวส่วนตัว”
เพราะความจริงแล้วการไม่มีเงินส่งผลให้เกิดความเครียด
และความเครียดส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและการคิด
คนยากจนมีทางเลือกในการตัดสินใจที่น้อย และตัดสินใจได้ยากกว่า
ส่งผลให้บางปัญหานั้นยืดเยื้อออกไป เช่น การกู้ยืมเงินที่มากขึ้น การยืดเวลาชำระหนี้
และนำไปสู่ทางออกที่ยากมากขึ้น
=======
มีการทดลองกับ คนอีก 400 คน ในห้างสรรพสินค้านิวเจอร์ซีย์ระหว่างปี 2010 ถึง 2011
โดยการสร้างสถานการณ์ว่าจะตัดสินใจอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาขึ้น พบว่า คนยากจนและคนรวย มีความสามารถในการตัดสินใจไม่ต่างกัน แต่เมื่อปัญหาที่ต้องตัดสินใจมีเงินที่ต้องจ่ายจำนวนมากในการแก้ไขปัญหา พบว่าผู้ที่มีรายได้น้อยจะตัดสินใจได้แย่ลงอย่างมาก ในขณะที่คนร่ำรวยไม่สะทกสะท้าน
นอกจากนี้นักวิจัยยังได้ทดสอบชาวไร่อ้อย 464 คน ก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งก่อนเก็บเกี่ยวมีฐานะยากจนและหลังเก็บเกี่ยวมีฐานะร่ำรวยขึ้น พบว่าเกษตรกรทำการทดสอบได้ดีหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อตัวเองมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น และไม่มีความกังวล
ดังนั้นความกังวลและความเครียดในแต่ละวันจะมีผลต่อการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นจะเป็นตัวตัดสินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต คนจนไม่ได้โง่ แต่ด้วยความกดดันและโอกาสที่น้อยกว่า
คนจนจึงต้องพยายามมากกว่าเพื่อหาโอกาสและเอาชนะแรงกดดัน
บทความ“ ความยากจนขัดขวางการทำงานขององค์ความรู้” เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2013 โดย Science ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก National Science Foundation , International Finance Corporation และ IFMR Trust ในอินเดีย