เทคนิคหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เมื่อตั้งเป้าหมาย โดยมีสิ่งสำคัญ คือ ต้องทำให้เฉพาะเจาะจง, วัดผลได้, บรรลุได้, มีความสอดคล้องเกี่ยวข้อง, และมีเวลาจำกัด, สิ่งนี้เรียกว่าเกณฑ์ SMART ซึ่งย่อมาจาก ตัวอักษรตัวแรกของภาษาอังกฤษ 5 ตัว คือ :
S : Specific (เฉพาะเจาะจง): กำหนดสิ่งที่คุณต้องการบรรลุให้ชัดเจน เข้าใจได้
M : Measurableวัดผลได้: กำหนดวิธีการวัด ความก้าวหน้า ว่ามาถูกทางหรือ ถูกต้องหรือไม่ ต้องวัดผลได้เป็นตัวเลขชัดเจน
A : Achievable หรือ Attainable บรรลุผลได้: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป้าหมายของคุณเป็นจริงและบรรลุผลได้ มีโอกาสที่จะสำเร็จไม่ใช่ว่าตั้งขึ้นมาก็ไม่มีทางเป็นไปได้
R : Relevant ความสอดคล้อง เกี่ยวข้อง: เป้าหมายของคุณควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยรวมที่สูงกว่า หรือเป้าหมายระยะยาว เพื่อให้ความสำเร็จของเป้าหมายเป็นการส่งเสริมกันในทิศทางที่ถูกต้อง
T :Time-bound ขอบเขตเวลา: กำหนดเส้นตายสำหรับการบรรลุเป้าหมายให้ชัดเจน
SMART คือ เทคนิคการตั้งเป้าหมายที่เป็นที่นิยมและเข้าใจได้ง่าย แต่ก็มีอีกเทคนิคหนึ่งที่เป็นที่นิยมและส่งเสริมให้การตั้งเป้าหมายถูกนำไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ดีและมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้ควบคู่ หรือส่งเสริม SMART เพื่อให้การตั้งเป้าหมายดียิ่งขึ้น คือ
เทคนิคการตั้งเป้าหมายเรียกว่า “การวางแผนย้อนกลับ” backward planning เป็นการเริ่มต้นด้วยเป้าหมายสุดท้ายในใจและการทำงานย้อนหลังเพื่อสร้างแผนปฏิบัติการ สามารถใช้ขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับการวางแผนย้อนหลังได้:
กำหนดเป้าหมายสุดท้าย เป้าหมายสูงสุดที่ต้องการให้ชัดเจน: ระบุสิ่งที่คุณต้องการบรรลุและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป้าหมายนั้นเฉพาะเจาะจง เป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการ วัดผลได้ และกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน
แบ่งเป้าหมายออกเป็นงานที่เล็กลงและสามารถจัดการได้มากขึ้น: ระบุขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และประเมินว่าแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลานานแค่ไหน และเพื่อให้งานง่ายต่อการจัดการกว่าการมีเป้าหมายใหญ่เพียงเป้าหมายเดียว
กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน: แต่ละเป้าหมายที่ถูกที่แบ่งย่อย ต้องกำหนดระยะเวลาแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจนเพื่อตรวจสอบว่าแต่ละเป้าหมายย่อยได้บรรลุผลแล้วหรือยัง
จัดลำดับความสำคัญของงาน: ระบุว่างานใดสำคัญที่สุดและจัดการกับงานเหล่านั้นก่อน ระบุลำดับความสำคัญของงานและสิ่งใดจำเป็นต้องทำก่อนหลัง เพื่อเป็นการกำหนดว่าต้องทำเป้าหมายย่อยใดให้บรรลุก่อน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่อยู่ถัดไป
กำหนดเวลาย้อนกลับถึงปัจจุบัน : กำหนดระยะเวลาย้อนกลับจากเป้าหมายสูงสุดที่กำหนดไว้ ย้อนกลับมาถึงเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลังให้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ย้อนเวลากลับมาถึงปัจจุบัน ว่าตอนนี้ต้องทำอะไรบ้างเพื่อวางแผนสำหรับการทำงานปัจจุบัน และทำตามนั้น
ตรวจสอบและปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น: การวางแผนจำเป็นต้องมีการตรวจสอบหลังจากที่ได้ลงมือปฏิบัติแล้ว ซึ่งการตรวจสอบจะช่วยให้เห็นความก้าวหน้า และช่วยให้เรารู้ว่าต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนอะไรบ้างหรือไม่
เมื่อใช้เทคนิค การวางแผนย้อนกลับ ร่วมกันกับ การกำหนดเป้าหมายแบบ SMART จะช่วยให้เราสามารถสร้างแผนปฏิบัติที่ชัดเจนและมุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายของคุณในลักษณะที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ธวัชชัย บัววัฒน์