หน้ากากอนามัย สะท้อนปัญหาการจัดการ

วิธีการหนึ่งที่ใช้ในประเมินความมีประสิทธิภาพของการทำงานก็คือ

การประเมินผลลัพธ์(Key Result)
คือ การประเมินเฉพาะผลลัพธ์ที่เราตั้งเป้าไว้ โดยไม่สนใจกิจกรรม วิธีการ หรือคำพูดที่สวยหรู จากการนำเสนอ แต่มุ่งตรงไปที่ผลสำเร็จว่าได้หรือไม่
ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้เราไม่หลงไปกับการสร้างกิจกรรม หรือกระบวนการที่ไม่สร้างผลลัพธ์
หรือกิจกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือการสร้างภาพแต่ไม่สร้างผล
.
ปัญหาหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน เป็นตัวอย่างที่ดี ที่แสดงผลลัพธ์ที่ขาดประสิทธิภาพ
และสะท้อนปัญหาการจัดการ ของผู้มีส่วนรับผิดชอบ
.
เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ทั้งแพงและขาดตลาด มีการกักตุนและโก่งราคา ไม่ทั่วถึงและขาดความเชื่อใจในผลลัพธ์

ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน มาจากปัญหาการบริหาร Demand(ฝั่งซื้อ) และ Supply(ฝั่งขาย) ในสภาวะวิกฤต
เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ ควรมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนถึงซัพพลายเชนสำคัญของสินค้า คือ

  1. ข้อมูลผู้ผลิต เช่น ตอนนี้ใครเป็นผู้ผลิต, มีกี่ราย , ตอนนี้มีกำลังการผลิตเท่าไหร่, กำลังการผลิตสูงสุดรวมกันเป็นเท่าไหร่ ถ้าผลิตตลอด 24 ชม. เต็มกำลังการผลิต ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เช่น แรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ เราควรมีข้อมูลว่า ในประเทศ สามารถผลิตได้สูงสุดวันละกี่ชิ้นกันแน่ เช่น 1,5,10, หรือ 20 ล้านเป็นต้น
  2. พยากรณ์ความต้องการ เช่น ถ้ามีคนต้องใช้ วันละ 1 ล้านคนในกลุ่มเสี่ยง, เจ้าหน้าที ใช้วันละ 2 ชิ้น เท่ากับว่ามีความต้องการ 2 ล้านชิ้น/วัน ถ้าระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ทั้งหมด 60 ล้านชิ้นต่อเดือน แบ่งเป็นในกรุงเทพเท่าไหร่ ต่างจังหวัดเท่าไหร่
  3. พิจารณาช่องทางจัดจำหน่าย ความต้องการ 2 ล้านชิ้น/วัน จะกระจายผ่านช่องทางใด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เช่น กระจายตามร้านยา โรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ โดยกำหนดเป็นสัดส่วนให้ทยอย กระจายอย่างทั่วถึง ดีกว่าการกระจุกตัวเพียงบางสถานที่
  4. ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ มีอะไรบ้างวัตถุดิบถ้าต้องการผลิตวันละ 2 ล้านชิ้น วัตถุดิบเพียงพอหรือไม่ หรือต้องสั่งเพิ่มจากที่ใด นำเข้า หรือภายในประเทศ ต้องเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการใช้ ถ้าไม่เพียงพอ ต้องทำอย่างไรให้วัตถุดิบสามารถป้อนเข้าโรงงานได้ทันตามความต้องการ
  5. มาตรการส่งเสริม เช่น เมื่อกำลังการผลิตในประเทศไม่พอ ต้องมีการนำเข้า มีมาตรการ เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างไร เช่น ช่องทางการนำเข้า หรือ ภาษีการนำเข้าเป็นต้น หรือแม้แต่วัตถุดิบสำคัญที่ต้องใช้ในการผลิต
  6. มาตรการป้องกัน เช่นเมื่อการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ ต้องมีมาตาการ การป้องกันการส่งออกหรือ นำออกจากประเทศ, ป้องกันการกักตุน หรือ โก่งราคา เช่น การลงโทษ หรือ การจำกัดการขาย เป็นต้น

สุดท้ายการแก้ปัญหา อยู่ที่การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการ ดีกว่าการตอบคำถามว่าเพียงพอและไม่ขาดแคลน ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็รู้ว่า หาซื้อไม่ได้และราคาสูงมาก
ความจริงสินค้าอาจเพียงพอต่อการใช้ แต่ถูกกักตุนและเก็งกำไร

ความเร่งด่วนและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องในการตัดสินใจ จะช่วยให้สถานการณ์ที่เราต้องเผชิญถูกจัดการอย่างเหมาะสม

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s