7 ความเสี่ยงหลักของการบริหารซัพพลายเชน

หลังจากนี้หลายบริษัทต้องหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างกลยุทธ์เพื่อบริหารความเสี่ยงที่มีผลกระทบโดยตรงกับการจัดซื้อและการบริหารซัพพลายเชนขององค์กรอย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์และเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการจัดการซัพพลายเชนขององค์กรอีกด้วย

ปัญหาการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (Covid-19) ที่ไม่มีบริษัทไหนในโลกวางแผนรับมือกับสิ่งนี้ไว้ ทำให้ตอนนี้หลายอุตสาหกรรมขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าสำหรับผลิตจากการหยุดชะงักของซัพพลายเออร์ หรือการขนส่งในหลายพื้นที่ หลายบริษัทกำลังแย่งชิงวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในโรงงานของตัวเอง เป็นปัญหาที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการบริหารซัพพลายเชนที่ผ่านมา เพราะบริษัทที่ทำได้ดีจะเข้าใจและคาดการณ์เหตุการณ์ได้ถูกกต้องและแม่นยำกว่า ทำให้ไม่ต้องแย่งชิงสินค้าและวัตถุดิบกันในช่วงวิกฤต พวกเขาสามารถรู้ระดับสต๊อกของซัพพลายเออร์และเข้าใจสถานการณ์ปัญหาก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะมีข้อมูลที่อัพเดตและเชื่อถือได้ ความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงขององค์กรที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์และความสามารถในการบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนเป็นอย่างดี

การพึ่งพาการบริหารของซัพพลายเออร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและมีความเสี่ยงมากเกินไป การวิเคราะห์และการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในกิจการควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
หลายกิจการรู้ปัญหาล่วงหน้าแต่ดำเนินการไม่ทันเพราะต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการแก้ไขและตัดสินใจ เป้าหมายการจัดซื้อที่ผ่านมาเน้นวัดผลที่การประหยัดต้นทุน ไม่ได้เน้นที่การรักษารายได้หรือ การบริหารความเสี่ยงและกระทบกับการหยุดชะงักของซัพพลายเชน

ความเสี่ยงหลักในระบบซัพพลายเชน

7 ความเสี่ยงหลักของซัพพลายเชนที่องค์กรต้องให้ความสำคัญและวางแผนรับมือ จากปัจจัยภายนอกและภายใน คือ:

  1. ความเสี่ยงด้านอุปทาน(Supply Risks) ความไม่แน่นอนของวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในขาเข้าทั้งเรื่องของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งมีผลทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องหรือยากคาดการณ์ได้ ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของอุปทานในระบบซัพพลายเชน
  2. ความเสี่ยงจากอุปสงค์(Demand Risks) เกิดจากความผันผวนของความต้องการที่ไม่แน่นอนปรับเปลี่ยนขึ้นลงตามปัจจัยซึ่งยากต่อการคาดการณ์ อาจมีความต้องการสูงมากหรือหยุดต้องการในทันที
  3. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risks). คือความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบภายในซัพพลายเชนทำให้ความสามารถในการจัดไม่เป็นไปตามมาตฐานหรือแผนที่วางไว้ส่งผลต่อเรื่องของต้นทุน เวลาและคุณภาพ การขนส่งเป็นหนึ่งในความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด

ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยภายในซัพพลายเชนของแต่องค์กรที่ต้องจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดและมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อการหยุดชะงักไปในหลายๆซัพพลายเชนและยากต่อการควบคุม คือ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่เกิดจาก สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์การเมืองเศรษฐกิจและเทคโนโลยี :

4. ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Risks) ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความน่าจะเป็นสูงสุดของการเกิดขึ้นและมีความยากในการบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากปัญหาจากภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เช่นแผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือแม้แต่การแพร่ระบาดของโรคภัยต่างๆ

5. ความเสี่ยงจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risks) ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์หลายอย่างมีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความขัดแย้งหรือข้อจำกัดทางการค้า แต่ด้านการจัดการซัพพลายเชน ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมและลดความเสี่ยงถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

6. ความเสี่่ยงจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Risks) ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอาจมีผลกับความต้องการสินค้าหรือราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมและวางแผนรับมือได้ในมุมมองของซัพพลายเชน

7 .ความเสี่ยงจากเทคโนโลยี (Technological Risks) การจัดการห่วงโซ่อุปทานพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการและการดำเนินงานมากขึ้นและมีบทบาทสำคัญในองค์กร ดังนั้นความเสี่ยงจากปัญหาด้าน IT จึงมีความสำคัญและเป็นข้อกังวลที่องค์กรต้องวางแผนป้องกันและรับมือหากเกิดการหยุดชะงักหรือเทคโนโลยีมีปัญหา

ความสามารถในการตอบสนองและความไวในการรับมือกับความเสี่ยง จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ชี้วัดว่าองค์กรจะสามารถผ่านอุปสรรคและอยู่ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ในอนาคต

ธวัชชัย บัววัฒน์
11/4/2563

แผนภูมิข้อมูลอ้างอิงดัดแปลงจาก: Manuj, I. and J.T. Mentzer, (2008) “Global supply chain risk management strategies”, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, Vol. 38, No. 3, pp. 192-223. World Economic Forum (2012) New Models for Addressing Supply Chain and Transport Risk

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s