
ตอนนี้นอกจากกิจการส่วนใหญ่จะมียอดขายลดลงแล้ว
ปัญหาที่ตามมาอีกอย่างของหลายกิจการ คือ สินค้า Over Stock หรือ มีสินค้าเกินความต้องการ
ซึ่งเกิดจากการกักตุน และเก็งกำไรในช่วงวิกฤต
แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ
สินค้าสามารถหาซื้อได้ เหมือนปกติ
ทำให้ความต้องการของลูกค้าไม่สูงเหมือนเดิม
และบางรายการสินค้ายังมีแนวโน้มลดลง
เนื่องจากลูกค้าเองก็ตุนสินค้า ไว้แล้วในช่วงวิกฤติ
และยังใช้ไม่หมดยังเหลืออีกมาก
ดังนั้นกิจการที่มีสต๊อกอยู่มาก
จะเริ่มมีปัญหา ทุนจม กระแสเงินสด
การจัดเก็บ และดูแลรักษาสต๊อก
ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ต้นทุนรวมของการบริหารสต๊อก
โดยปรกติจะมีต้นทุนอยู่ประมาณ 25% ของราคาสินค้าที่จัดเก็บใน 1 ปี
หมายความว่า ถ้าสินค้าคุณมีมูลค่ารวม 1000 บาท
คุณจะมีต้นทุนการจัดเก็บอยู่ประมาณ 250 บาท
ซึ่งถ้าคุณมีกำไรสินค้าที่ 25% ก็จะเท่าทุน
แต่ถ้าสินค้ามีกำไรแค่ 20% แม้จะขาย 1,000 บาท
เราก็จะขาดทุน 5% หรือ 50 บาท
ดังนั้นหากกิจการไหนมีปัญหาเรื่องของสต๊อกสินค้า
ที่ Over หรือ เกินอยู่ตอนนี้
สิ่งที่ต้องทำ คือ List รายการสินค้าออกมา
แล้วเทียบกับยอดขายเฉลี่ยปกติ
ว่าสินค้าสามารถอยู่ได้ กี่วัน
เช่น สินค้า A มีอยู่ 300 ชิ้น ปกติก่อนวิกฤติ ขายได้ 3 ชิ้น/วัน
เท่ากับว่าสินค้า A สามารถอยู่ได้ 100 วัน (Day On Hand)
ถ้า สินค้า B มีอยู่ 300 ชิ้น ปกติขายได้ 1 ชิ้น/วัน
เท่ากับว่าสินค้า B มี DOH 300 วัน
ดังนั้นเราต้องเรียงลำดับสินค้าทั้งหมดในร้านออกมา
แล้วมากำหนดว่าตัวไหนที่มี DOH มาก
ให้รีบนำมา Clear หรือจัดการก่อน
อาจจะทำโปรโมชั่น หาคนซื้อที่ต้องการ
และอีกอย่างที่ต้องทำคือ
ดูนโยบายการสั่งซื้อสินค้า แต่ละตัวใหม่
เพื่อไม่ให้เกิดการสั่งเข้ามาเพิ่ม ในช่วงที่ Clear สินค้า
การที่เรายังคงเก็บสินค้าที่ขายไม่ดีไว้มากเกินไป
ก็จะเป็นต้นทุน ที่จะส่งผลให้กำไรของกิจการลดลง
เราจึงต้องรีบจัดการก่อนครับ
การบริหารสต๊อกสินค้าได้ดี จะมีกำไรมากขึ้น
เพราะจะมีรายได้มากขึ้นจากการตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น
และต้นทุนในการจัดการสต๊อกต่ำลง
================
ธวัชชัย บัววัฒน์