การรับมือผลกระทบที่เกิดจากการหยุดกระทันหันของโครงสร้างในซัพพลายเชน (Ripple Effect)

  • ช่วงเวลาที่เกิดโควิท19 หลายบริษัทประสบปัญหาด้านซัพพลายเชน จากการหยุดชะงัก ทั้งในส่วนของลูกค้า ช่องทางการจำหน่าย การขนส่ง การกระจายสินค้า การผลิต และซัพพลายเออร์
  • เป้าหมายกิจการที่ตั้งไว้ คือ กำไร อย่างยั่งยืน ก็ได้รับผลกระทบ
  • ซึ่งความยั่งยืนนี้เอง เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องกลับมาพิจารณาถึงความสามารถในการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
  • และสิ่งสำคัญที่ทำให้กิจการรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็คือ ความเสี่ยงจากการหยุดชะงักในโครงสร้างของซัพพลายเชน ที่สร้างผลกระทบในปัจจุบัน และอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต
  • ปัญหาการหยุดชะงักที่แพร่กระจายออกเป็นระลอกคลื่น (Ripple Effect) ส่งผลให้กิจการไม่สามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้ตามปกติ (ต่างจาก Bullwhip Effect ที่เป็นเพียงการขึ้น-ลง และผันผวนของ Demand)
  • ที่กิจการต้องประสบปัญหาเมื่อเกิดการหยุดชะงัก ก็เป็นผลมาจากกิจการขาดความสามารถในการทนต่อปัญหา(Robustness) ที่เข้ามากระทบในโครงสร้างของซัพพลายเชนกิจการ และขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัว(Resilience ) เพื่อให้สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
  • ดังนั้นกิจการต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความยั่งยืนของกิจการในอนาคต นอกเหนือไปจากผลประกอบการด้านกำไร
  • กิจการต้องสมดุลระหว่างความทนทานต่อปัญหาและความยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบเรื่องของต้นทุนกิจการที่สูงขึ้น(Cost Structure) จากการเพิ่มสต๊อก การมีซัพพลายเออร์สำรอง การลดความเสี่ยง แต่ก็ได้มาซึ่งความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการบริการ(Service Level)ที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
  • สิ่งที่จะช่วยให้กิจการมีความสามารถในการรับมือกับการหยุดชะงักในโครงสร้างได้นั้น กิจการจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการใหม่ๆ เช่น
    • ความไวต่อปัญหาที่เกิดขึ้น (Real Time data)
    • การมีกลยุทธ์ในการสต๊อกสินค้าใหม่ (New Inventory Model)
    • การจัดสรรทรัพยากรแบบพลวัต (Dynamic resource allocation)
    • การปรับปรุงการพยากรณ์ (Improving Forecasting Model)
    • Machine Learning/ Big Data
    • Visibility and risk control/ Sensing
    • New Optimization/ Simulation Model
  • สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้กิจการสามารถฟื้นจากปัญหาและรับมือกับปัญหาได้เร็วมากยิ่งขึ้น  
  •   
  • กิจการใดมีความสามารถในการหาวิธีการที่เหมาะสมในการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้กิจการนั้นมีความได้เปรียบในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาในระบบ
  • เมื่อโครงสร้างของซัพพลายเชนถูกกระทบก็จะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากนั้นองค์กรต้องพยายามที่จะรับมือกับปัญหานี้ให้ได้ก่อนที่จะหาทางกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

แนวทางหลังจากนี้องค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของกิจการ พอๆ กับผลกำไรของบริษัท

ธวัชชัย 28/07/2563

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s