5 สิ่งที่ขัดขวางคนเก่ง จากความสำเร็จ

5 สิ่งที่ทำให้คนเรียนเก่ง ไม่ประสบความสำเร็จ หรือบางครั้งถึงกับล้มเหลว
.
ถ้าคุณมีเพื่อนที่เก่งมากสมัยเรียนวัยเด็ก แล้วมาเจอกันอีกครั้งตอนวัยทำงาน หรือใน Facebook แล้วคุณพบว่า
คนเก่งเหล่านั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำงาน
.
คุณอาจสงสัยว่า ทำไมคนเก่งถึงกลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จตอนทำงานทั้งที่ตอนเรียนเก่งมาก
.
แน่นอนว่าคนเก่งที่สำเร็จก็มี และมีโอกาสในความสำเร็จมากกว่า แต่หลายคนก็ไม่ใช่
เด็กหลังห้องบางคนกลับประสบความสำเร็จมากกว่า
.
ถ้าคุณหรือคนที่คุณรู้จักเป็นคนเก่งที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
.
ลองพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ว่ามีอะไรพลาดหรือลืมไปหรือเปล่า ถ้ามี…
การปรับเปลี่ยนอาจทำให้ความเก่งที่ติดตัวมาสร้างความสำเร็จได้ในอนาคต
นี่คือ 5 สิ่งนี้ที่ทำให้คนเก่งมักพลาดตอนทำงาน:

  1. คนเก่งที่พลาดเรื่องความสัมพันธ์ เก่งจริงแต่ละเลยจุดอ่อนที่จำเป็นต่อความสำเร็จ:
    คนเก่งส่วนใหญ่ในวัยเรียนได้คะแนนดีและสอบผ่านได้โดยไม่ต้องพึ่งใครเพราะข้อสอบวัดผลเป็นรายบุคคล
    ครูชอบและสนับสนุนเต็มที่กับเด็กที่เก่ง
    ทำให้บางคนทำงานเก่งมาก แต่เรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอยู่ในเกณฑ์แย่
    เก่งงานแต่ไม่ง้อใครจึงไม่เน้นเรื่องความสัมพันธ์
    ดังนั้นคนที่เก่งแล้วลองดูว่าเรามีจุดบกพร่องใดที่สำคัญแต่ถูกละเลยหรือเปล่า เช่น ความสัมพันธ์ การสื่อสาร ทักษะการฟัง การพูด เป็นต้น
  2. คนเก่งที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนไม่เก่งได้:
    บางครั้งคนเก่ง จะคิดเร็ว แก้ปัญหาเร็ว แต่เพื่อนร่วมงาน หรือลูกน้องอาจคิดตามไม่ทัน หรือไม่เข้าใจอย่างที่คนเก่งเข้าใจ
    เมื่อเป็นเช่นนี้ คนเก่งมักจะไม่ชอบมอบหมายงานให้คนอื่น เพราะไม่ไว้ใจ หรือ ไม่เชื่อว่าคนอื่นจะทำได้เหมือนอย่างที่ตัวเองทำ
    งานส่วนใหญ่จึงมาอยู่ที่คนเก่ง และขาดคนช่วย
    ประเภท “เก่งนักก็ทำคนเดียว”
    ทำให้ผลงานอาจไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ เพราะหนักและเหนื่อยเกินไป
    ทางที่ดีคนเก่งควรรู้จักวิธีบริหารเพื่อนร่วมงานในการกระจายงาน หรือทักษะการมอบหมายงาน
  3. คนเก่งกลัวคนเก่งกว่า ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนเก่งกว่าได้ :
    จากที่เคยเป็นที่หนึ่ง หรือเก่งมาตลอดสมัยเรียน ทำให้บางครั้งอาจรับสภาพไม่ได้ที่ต้องเจอคนเก่งกว่าหรือทนไม่ได้ที่รู้ว่าตัวเองไม่เก่งเมื่อถูกชี้แนะหรือตำหนิ
    ดังนั้นคนเก่งบางคนจะพยายามหลีกเลี่ยงทำงานกับคนที่เก่งกว่า หรือปิดบังความไม่รู้หรือความไม่เก่งในบางเรื่องของตัวเองไว้ ทำให้บางครั้งขาดการพัฒนาในสิ่งที่สำคัญกับการทำงานหรือ
    หัวหน้างานและคนที่เก่งกว่าไม่อยากร่วมงานด้วย
    ดังนั้น คนเก่งต้องใจกว้างเปิดรับสิ่งใหม่ความรู้ใหม่และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์
  4. คนเก่งที่เบื่อง่ายและความอดทนต่ำ:
    สมัยเด็กคนเก่งมักทำอะไรเร็วและเห็นผลเร็ว เช่นผลสอบผลคะแนน และได้รับคำชมบ่อยๆในทันที
    แต่ในชีวิตการทำงาน งานบางงานอาจต้องใช้ความพยายาม ความอดทน และทำซ้ำๆ จนเชี่ยวชาญ ไม่สามารถคิดและสำเร็จได้ทันที
    ซึ่งสิ่งนี้เองอาจทำให้คนเก่งๆ อดทนไม่ได้และรอความสำเร็จในระยะยาวไม่ไหว
    ดังนั้นคนเก่งต้องฝึกมองผลลัพธ์ระยะยาว และอดทนรอความสำเร็จ ซึ่งระหว่างรอผลลัพธ์ก็หาวิธี หรือพัฒนาสิ่งอื่นๆ โปรเจคใหม่ควบคู่กันไปเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นต้น

    5.คนเก่งบางครั้งตัดสินใจและลงรายละเอียดในทุกปัญหา รอจนมั่นใจและมักช้าเกินไป:
    คนเก่งที่เชื่อมั่นในตัวเองสูงและคุ้นเคยกับการคิดและไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้มั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ในการแก้ปัญหา
    แต่ความจริงบางปัญหา มีวิธีการที่แตกต่างออกไป อาจง่ายกว่านั้นหรือแตกต่างจากนั้น แต่ก็ยังดื้อดึงและเคยชินกับการทำงานเดิมๆ ที่เคยสำเร็จ
    ดังนั้นคนเก่ง ควรคิดในกรอบที่แตกต่างออกไปในแต่ละปัญหา เพราะการลองทำอาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าและเร็วกว่าการคิดละเอียดเกินไป
    …………
    จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้เกิดจากการที่คนเก่ง ไม่สามารถปรับตัวและร่วมงานกับผู้อื่นได้
    ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ถ้าคุณหรือคนสนิทคุณตกอยู่ในสถานการณ์นี้
    ลองดูสักนิดว่ามีข้อไหนที่เป็นปัญหาและถ้าเป็นไปได้ลองปรับดูเผื่อว่าความเก่งที่ติดตัวคุณมาจะทำให้คุณได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
    และสำหรับคนที่มีลูกหลานเรียนเก่งๆ ลองเพิ่มการฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่แตกต่างเข้าไปด้วยนะครับ

เพราะความเก่งที่ติดตัวมามากกว่าคนอื่นจะได้ใช้ประโยชน์กับพวกเขาในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

ธวัชชัย บัววัฒน์
11/1/2563

https://wp.me/pbHc5B-lE

Reference: Harvard Business Review. Alice Boyes. (2018, November). 5 Ways Smart People Sabotage Their Success.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s