10 ขั้นตอนพื้นฐานสู่การสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน
- ค้นหาโอกาสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- เลือกโอกาสที่ดีที่สุดในการสร้างความสำเร็จ
- กำหนดเป้าหมายในสิ่งที่เลือก
- สร้างความเชื่อมั่นและจุดแข็งในการบรรลุเป้าหมาย
- ปิดจุดอ่อนของตัวเองที่จะบรรลุเป้าหมาย
- ป้องกันความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมาย
- ลงมือทำ (เริ่มทำสิ่งที่สำคัญ, รักษาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว, เลิกทำสิ่งที่ไม่ควรทำ)
- ประเมินผลลัพธ์จากการลงมือทำ
- ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น
- ฉลองความสำเร็จและให้ความสำเร็จเป็นมาตรฐานใหม่
จากนั้นเริ่มค้นหาโอกาสใหม่ โดยเริ่มจากข้อ 1-10
จนเป็นนิสัยในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10 ขั้นตอนพื้นฐานสู่การสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน
- ค้นหาโอกาสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน : โอกาสใหม่ๆ จะเกิดขึ้นทุกวัน สิ่งสำคัญคือ เราจะมองหาโอกาสนั้นเจอได้อย่างไร ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยกับสิ่งรอบตัว ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ คือ การแสกนโอกาสที่มีให้ไกลตัวออกไป อย่าติดอยู่กับสิ่งรอบตัวจนพลาดโอกาสดีๆ จากนั้นค่อยมาประเมินความน่าสนใจ และพยากรณ์ต่อไปว่าสิ่งเหล่านั้จะเป็นอย่างไรในอนาคต
- เลือกโอกาสที่ดีที่สุดในการสร้างความสำเร็จ: เป็นเรื่องปกติที่เราจะเจอโอกาส มากกว่าหนึ่งอย่าง แต่มันจะมีโอกาสบางอย่างที่ดีกว่า ให้เลือกโอกาสนั้นเป็นตัวตั้ง หลังจากนั้นมาพิจารณาว่าเราควรจะอยู่ตรงไหนในโอกาสนั้นถึงจะดีที่สุด เช่น เรามองเห็นโอกาสจากธุรกิจหนึ่ง เราก็มาเลือกว่า เราจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ให้บริการ ผู้จัดส่ง หรือ ผู้ค้าปลีก-ส่ง เป็นต้น
- กำหนดเป้าหมายในสิ่งที่เลือก : สมมุติว่าเราเลือกแล้วว่าเราจะทำอะไร ก็ตั้งเป้าหมายขึ้นมาเพื่อเป็นหลัก เป้าหมายคือสิ่งสำคัญ ที่จะใช้ยึดถือว่าโอกาสที่เราเลือกนั้นปลายทางความสำเร็จอยู่ตรงไหน เพื่อให้ชัดเจนถึงจุดหมายและระยะทางที่จะเดินไป ถ้าเราตั้งเป้าหมายได้ดี เราก็จะรู้ว่าเราควรต้องทำอะไรบ้างในระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ ดังนั้น ต้องตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกัน
- สร้างความเชื่อมั่นและจุดแข็งในการบรรลุเป้าหมาย : หลายคนที่สามารถตั้งเป้าหมายได้ดีแต่ไปต่อไม่ได้ เหตุผลก็เกิดจากความไม่เชื่อมั่นว่าตัวเองจะทำได้ ไม่เห็นคุณค่าในความสามารถตัวเอง ประเมินตัวเองไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ สร้างความเชื่อมั่นและคุณสมบัติที่จำเป็น หรือจุดแข็งสำหรับเป้าหมายให้ได้
- ปิดจุดอ่อนของตัวเองที่จะบรรลุเป้าหมาย : แน่นอนว่าไม่มีใครเก่งไปได้ทุกเรื่อง และความสำเร็จก็ไม่ได้มีปัจจัยเพียงตัวเรา ดังนั้นสิ่งที่เป็นจุดอ่อน แต่มีผลสำคัญกับเป้าหมาย ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนา ซึ่งการแก้ไขนั้น เราสามารถหาผู้ช่วย ที่ปรึกษา และจ้างคนที่เชี่ยวชาญมาทำให้ได้ หรือแม้แต่จะใช้เวลาฝึกฝนด้วยตัวเองก็ได้
….
…. - ป้องกันความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมาย : ทุกสิ่งที่เราวางแผนไว้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาส จุดแข็ง หรือเป้าหมาย ไม่มีอะไรจะสมบูรณ์แบบ ความผิดพลาด หรือความยากลำบากเป็นของคู่กันกับความสำเร็จ ดังนั้นเราต้องประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกับความสำเร็จของเรามีอะไรบ้างและหาทางที่จะปิด ลด หรือหลีกเลี่ยง เพื่อประกันไม่ให้ความเสี่ยงนั้นรุนแรงหรือเป็นอุปสรรคกับเป้าหมายของเราในอนาคต
- ลงมือทำ: โอกาสและเป้าหมายที่วางไว้จะไม่มีทางสำเร็จหรือก้าวหน้าได้เลยถ้าไม่ได้ลงมือทำ คนส่วนใหญ่รอให้พร้อมก่อนแล้วค่อยทำ ความจริงแล้วมันไม่เคยมีอะไรที่พร้อม ดังนั้นควรลงมือทำ 3 สิ่ง ตั้งแต่ตอนนี้ คือ เริ่มทำสิ่งที่ควรทำ, รักษาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว และเลิกทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทั้งหมดก็เพื่อเป้าหมาย และโอกาสที่เราต้องการ
- ประเมินผลลัพธ์จากการลงมือทำ : อย่างที่บอก คือ ไม่มีอะไรสมบูรณ์ การทำงานย่อมมีเรื่องที่ผิดพลาดเป็นธรรมดาแม้ว่าเราจะวางแผนและเตรียมการไว้อย่างดีก็ตาม ดังนั้นเราจึงต้องมีเป้าหมายเพื่อเอาไว้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ผลลัพธ์ที่สำคัญของการประเมินก็เพื่อ ให้รู้ว่าสิ่งที่เราลงมือทำนั้นได้ส่งเสริมกับเป้าหมายของเรามากน้อยขนาดไหน สิ่งที่เราทำอยู่ในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่
- ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น : ผลลัพธ์จากการประเมิน จะมีค่าเมื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา เพราะสิ่งนี้จะเป็นเกณฑ์ให้เราขยับขึ้นก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เราเจอกับปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
- ฉลองความสำเร็จและให้ความสำเร็จเป็นมาตรฐานใหม่ : สิ่งที่เราทำได้สำเร็จเมื่อถูกการยอมรับ หรือ ฉลองความสำเร็จ จะเป็นการเติมกำลังและเครื่องยืนยันถึงการกระทำที่ถูกต้อง และเป็นเหมือนหมุดหมายที่เราได้เดินทางมาถึงแล้ว เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับก้าวต่อไปในอนาคต เพราะความสำเร็จอยู่กับเราเพียงชั่วคราว เราจำเป็นที่จะต้องก้าวหน้าต่อไปด้วยโอกาสและเป้าหมายใหม่ในอนาคต
ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเริ่มค้นหาโอกาสใหม่ โดยเริ่มกลับไปที่ข้อ 1 และทำอย่างนี้วนซ้ำไปเรื่อย จนกลายเป็นนิสัยของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งที่เราทำเสร็จ 10 ขั้นตอนเมื่อย้อนกลับไปดูตอนที่เราทำขั้นที่ 1 เราจะพบถึงความก้าวหน้าและการพัฒนา ตลอดเวลา เพราะความจริงแล้วเราดีขึ้นทุกครั้งที่พยายาม
ธวัชชัย บัววัฒน์
13/02/2564