5 ขั้นตอนลดสต๊อกสินค้าอย่างง่ายแต่ได้ผล
ปัญหาสต๊อกสินค้าในองค์กรที่เจอ คือ มากเกินไป หรือไม่ ก็น้อยเกินไปจนไม่พอ
ถ้าตอนนี้คุณกำลังเจอปัญหาสต๊อกสินค้าที่มากเกินไปลองทำ 5 ขั้นตอนพื้นฐานนี้ก่อน ว่าทำได้ดีพอแล้วหรือยัง
เพราะขั้นตอนที่ง่ายแต่ได้ผลนี่แหละจึงอยากให้เริ่มทำ
1. แยกให้ได้ว่าสต๊อกที่มากเกินมาจากสินค้าอะไร เพราะความจริงแล้วเราอาจมีสินค้า 100 รายการ แต่ตัวที่เป็นปัญหาจริงๆ ที่ทำให้สต๊อกบวม อาจมีแค่ 20 รายการและต้องแน่ใจด้วยว่า สต๊อกสินค้านั้นมีอยู่จริงไม่ใช่แค่ตัวเลข
2.หาให้เจอว่าสาเหตุที่สต๊อกมาก เกิดจากอะไร เพราะบางครั้งเกิดจากนโยบาย หรือ สูตรในการสั่งสินค้าหรือสูตรสต๊อกที่เผื่อ Safety Stock ไว้มากเกินไป
ถ้าใช่ก็ต้องไปแก้ตรงนั้น เพราะถ้าเคลียสต๊อกไปแล้วจะได้ไม่เกิดซ้ำไม่ใช้สูตรเดิมในการสั่งสินค้าเข้ามาอีก บางกรณีสั่งสินค้ามาเยอะก็เพราะว่าพยากรณ์ผิด หรือว่าลูกค้ายกเลิก
หาสาเหตุหลักให้เจอ ไม่ฝั่ง Demand ผิด ก็ต้องฝั่ง Supply ที่พลาดในการคำนวณ ซึ่งบางทีพอเราไปเจอสาเหตุก็จะพบว่า 20 ปัญหาที่เจอ เกิดจากสาเหตุหลักอยู่แค่ 4-5 สาเหตุเท่านั้น ถ้าเจออย่างนี้ก็แคบมากขึ้นในการแก้ไข
สูตรคำนวณนี่แหละตัวสำคัญ บางครั้งใช้สูตรเดียวกับทุกสินค้า ใช้สูตรเดียวกับทุกสถานการณ์
กิจการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำสูตรให้ผันแปร ตามความต้องการ แยกแต่ละประเภทและสถานการณ์ อย่าใช้วิธีเหมารวม
3. พิจารณา Supplier ที่เกิดปัญหาสต๊อกล้น เพราะบางครั้งปัญหาที่เราต้องสต๊อกสินค้าไว้มาก ก็เพราะ Supplier ทั้งหลายมีประสิทธิภาพไม่ดี เช่น ส่งของบ้างไม่ส่งบ้าง หรือของขาดบ่อย ไม่มีคุณภาพ เอาแน่เอานอนไม่ได้
ดั้งนั้น เอารายงาน ประเมิน Supplier มาดู ว่ามีคะแนนเป็นอย่างไร เวลาดูต้องดูให้ระเอียดไม่ใช่แค่ผ่านไม่ผ่าน ต้องดูเป็นตัวเลข เช่น %Fill Rate, Leadtime, Pack Size หรือ ขั้นต่ำในการสั่ง รวมไปถึงความยืดหยุ่นในการตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลง
ถ้า Suppliers ดีเราก็ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องเผื่อสต๊อกไว้มาก เพราะไว้ใจได้เชื่อใจได้ ดังนั้น ถ้า สต๊อกตัวไหนเยอะ ต้องดูความสามารถของ Suppliers ด้วย
4. ใช้หลักคิด Multi-echelon หรือ สต๊อกสินค้าหลายระดับ เพราะบางกิจการมีหลายสาขามีสต๊อกอยู่หลายที่ ถ้าจัดเต็มทุกที่เพื่อหวังจะขายและตอบสนองลูกค้า ก็จะทำให้สต๊อกสินค้าบวมได้ เพราะว่าเราไม่สามารถจะคาดเดาลูกค้าได้ 100% ถ้าส่งไปน้อยก็เสียโอกาสส่งไปมาก ก็ล้น
ดังนั้นกิจการที่มีระดับสต๊อกหลายระดับ ควรต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ คือ ส่งไปขายให้น้อย และบริหารสต๊อกจากส่วนกลางให้พอ และใช้การส่งสินค้าให้เร็วและถี่แทน
เช่น ขายเครื่องซักผ้า อยู่ 20 สาขา แทนที่จะส่งสินค้าไปขายทั้ง 20 สาขา อย่างละ 3 ตัว รวม 60 ตัว 20×3 = 60
ก็ส่งไปแค่ สาขาละตัวพอ ทั้งหมด 20 ตัว ที่เหลืออีก 10 ไว้ที่ส่วนกลาง 20×1 = 20 , +10 = 30
แล้วเวลาลูกค้าสั่งก็ส่งตรงจากส่วนกลางไปที่บ้านเลย คิดแบบนี้ก็ประหยัด สต๊อกไป 50% นอกจากนั้นยังลดความเสี่ยงที่ส่งไป 3 เครื่องแต่ขายไม่ได้และถ้าสาขาไหนขายดี ก็มีของจากส่วนกลางส่งไปได้ไม่ต้องสั่งมาเพิ่ม
5. Clear สต๊อกเก่า ที่เสื่อมหรือใกล้หมดอายุออกไป , บางที่รอจนหมดอายุแล้วถึงนำมาทำลาย ดังนั้นกิจการต้องจัดการก่อนที่มันจะหมดอายุ ลด-แลก-แจก-แถมไปให้หมด
หลายกิจการเชื่อว่าสต๊อกไม่มีค่าใช้จ่าย เก็บไว้ก็ไม่เสีย ความจริงแล้วมันมีต้นทุนแฝงอยู่ประมาณ 25% ของมูลค่าสินค้า ต่อปี ทั้งค่าจัดเก็บ ค่าดูแล ค่าเสื่อม เงินจม ดอกเบี้ย เป็นต้น
ดังนั้น ขั้นตอนนี้คุณต้องไป เอารายการสินค้าที่ตกค้างนานๆ ออกมาแล้วเคลียออกไป เช่น เอารายงานมาดูว่า สินค้าตัวไหนไม่เคลื่อนไหวมาแล้วกี่เดือน 3/6/9/12 เดือน จัดการออกไป
5 ข้อพื้นฐานนี้ไม่ยาก ทำได้ทันที ได้ผลดีด้วย สำคัญ คือ ข้อมูล และการตัดสินใจ ถ้าทำ 5 ข้อนี้ได้ดีและสม่ำเสมอ รับรองว่าสต๊อกหายไปเยอะทีนี้ก็ต้องทำประจำเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ
ธวัชชัย บัววัฒน์
12 Apr 2021
Tawatchai Buawat
#InventoryManagement#SupplyChainManagement#Beginrabbit