คำถามแรกที่ควรทำความเข้าใจ คือ ” ความสูญเปล่า คือ อะไร “
แต่หลายคนพอได้ยินคำถามนี้ มักตอบว่า ความสูญเปล่า มี 8 ประการ แต่นั่นไม่ใช่ ความหมาย นั่นเป็นการบอกว่าความสูญเปล่า แบ่งเป็นกี่ประเภทในการทำงาน
ความจริง ความสูญเปล่าที่เราควรทำความเข้าใจก็คือ ความสูญเปล่า คือ การที่เรามีหรือทำอะไรแล้วไม่เกิดคุณค่า นั่นแหละ คือ ความสูญเปล่า เช่น สิ่งที่เรามีแล้วไม่ได้ใช้ พอจะใช้ก็ใช้ไม่ได้ หรือ สิ่งที่มีไว้ใช้แต่ใช้ไม่คุ้มค่า
พอเราเข้าใจอย่างนี้ ถ้าเราเห็นอะไรที่มีแต่ไม่ใช้ หรือ ใช้แล้วไม่เกิดประสิทธิภาพ เราจะเข้าใจทันทีได้เลยว่า นั่น คือ ความสูญเปล่า ที่ควรขจัดออก เช่น มีสต๊อกแต่ไม่ได้ใช้ หรือ มีสินค้าแต่เสีย มีพนักงานแต่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ , การที่ต้องรอคิว หรือ แม้แต่การเดินไปเดินมาแต่ไม่เกิดคุณค่าของงาน ทั้งหมดล้วนเป็นความสูญเปล่า ที่เกิดจากทำอะไรแล้วไม่เกิดคุณค่า ไม่เกิดประโยชน์
ซึ่งการที่มีคุณค่า หรือ ไม่มีคุณค่า ก็แยกได้ โดยดูว่าการที่เราทำ หรือ มีอะไรแล้วส่งเสริมให้เราบรรลุเป้าหมายหรือไม่ เช่น การมีสต๊อกไว้เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการสินค้า แต่มีมากไปเกินที่ต้องการก็เป็นความสูญเปล่า ออกแรงแต่ไม่ได้งาน รอแล้วไม่เกิดประโยชน์กับงานหรือลูกค้า ก็เป็นตัวอย่างความสูญเปล่า เป็นต้น
โดยความสูญเปล่าในการทำงาน สามารถแบ่งได้เป็น 8 ประการ คือ :

คำถาม : อะไร คือ ความสูญเปล่าที่เลวร้ายที่สุด ??
คำตอบ : ความสูญเปล่าที่มีแต่เรามองไม่เห็น หรือ เห็นแต่ไม่รู้ว่านั่นคือ ความสูญเปล่า นั่นคือ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในความสูญเปล่าของการทำงาน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่รู้ หรือไม่เห็น และไม่ให้ความสำคัญกับความสูญเปล่า ก็เท่ากับว่า เราปล่อยให้ความสูญเปล่านั้น ยังคงอยู่ และไม่ได้รับการแก้ไข แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรายอมรับว่าสิ่งนั้นเป็นความสูญเปล่า ความสูญเปล่าเหล่านั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาเพื่อขจัดความสูญเปล่านั้นให้หมด หรือลดลง

มองหาความสูญเปล่าที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า จากนั้นก็จัดการให้หมดหรือลดลง
ธวัชชัย บัววัฒน์
Tawatchai Buawat