Lean Supply Chain : การจัดการซัพพลายเชนแบบลีน

Lean Supply Chain = ลีน + ซัพพลายเชน

ลีน คือ การขจัดความสูญเปล่าในกิจการ ให้เหลือเฉพาะคุณค่าที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า


ซัพพลายเชน คือ การจัดการสินค้าและบริการทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จนถึงมือผู้บริโภคอย่างครบวงจร

การจัดการซัพพลายเชนแบบลีน จึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคของลีน เข้ามาเพื่อจัดการกับระบบซัพพลายเชนขององค์กร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในการส่งมอบคุณค่าในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ โดยการส่งมอบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้นั้น ก็เกิดจากการที่ตลอดทั้งกระบวนการเกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด ทำให้กระบวนการนั้นมีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และเกิดการทำงานอย่างรวดเร็ว สอดคล้องเป็นจังหวะเดียวกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในการตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า

ซึ่งกลยุทธ์ ซัพพลายเชนแบบลีน นี้เองจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กิจการมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะประสิทธิภาพไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งโซ่อุปทาน

โดยหลักการสำคัญในการสร้างซัพพลายเชนกิจการให้เป็นแบบลีนนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจสิ่งสำคัญที่สุด 5 ประการดังนี้ :

  1. เข้าใจ Demand- Supply : Demand หรือความต้องการของลูกค้า ว่าอะไร คือ คุณค่าที่ลูกค้าต้องการ และส่วนที่ 2 ก็คือ ส่วน Supply คือ ส่วนที่เป็นการเชื่อมต่อกันของคุณค่า จากต้นกระบวนการตั้งแต่วัตถุดิบ การสั่งซื้อ การจัดเก็บ การผลิต และการขนส่งสินค้าและบริการ ที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด
  2. เข้าใจ Value Chain : เข้าใจห่วงโซ่คุณค่า ของสินค้าและบริการตลอดทั้งซัพพลายเชน ว่าอะไร คือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการและส่งต่อคุณค่า ตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างไร และเขียนออกมาในรูปของ Value Stream Mapping
  3. เข้าใจว่า อะไร คือ ความสูญเปล่า(Wastes) ที่เกิดขึ้นภายในซัพพลายเชนของกิจการ และ อะไร คือ อุปสรรคและสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้การไหลของสินค้าและบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งซัพพลายเชน
  4. ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ(IE Techniques) ที่เป็นตัวช่วยในการค้นหา และขจัดความสูญเปล่า ลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็ว สร้างสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
  5. ปรับปรุงกระบวนการตลอดทั้งซัพพลายเชนให้สมบูรณ์ เกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด และที่สำคัญต้องรักษามาตรฐาน และพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กิจการสามารถเติบโตและมีความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว

โดยทั้ง 5 ประการจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในองค์กรเห็นความสำคัญของการพัฒนาและสร้างคุณค่าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยการมีเป้าหมายร่วมกันและมีส่วนร่วมในการสร้าง ซัพพลายเชนแบบลีน ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างแท้จริง

ธวัชชัย บัววัฒน์
16 Jan 2022

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s